โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ Baby box

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สำนักงานเทศบาลนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     การขับเคลื่อน ประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อก้าวไปสู่ประเทศที่มความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง” และบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาทียั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จึงต้องสร้างคนไทย 4.0 “มนุษย์ที่สมบูรณ์ ในศตวรรษที่ 21” ในช่วง 1000 วันแรกของชีวิต 1,000 วันแรกของชีวิต หมายถึง ทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปีเป็นช่วงที่ โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใย ประสาทนับล้านโครงข่ายเป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทําให้เด็กมีความสามารถในการ เรียนรู้จดจํา นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2-3 ปีถือเป็น proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ (Human capital) อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรคระบบเผาพลาญ ระบบทางเดินอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์จากการศึกษาวิจัยใน ต่างประเทศพบว่า โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต มีความสําคัญมากถึงร้อยละ 80 ต่อการกําหนดภาวะ สุขภาพไปตลอดชีวิตในขณะที่ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่มีส่วนกําหนดเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น หาก ในช่วง 1000 วัน ได้รับอาหารน้อยไปส่งผลให้ทารกในครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปีเจริญเติบโตไม่ดีคลอดออกมามี น้ําหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีภาวะเตี้ย เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจตามทฤษฎีของ David Barker นายแพทย์ชาวอังกฤษและนักระบาดวิทยาผู้สร้าง ทฤษฎี “Fetal programming” หรือ “Fetal origins of adult disease” ในทางตรงกันข้าม หากได้รับอาหารมาก เกินไป ทารกในครรภ์จะมีน้ําหนักมากกว่า 4,000 กรัม ทารกกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นเด็กอ้วน ผู้ใหญ่อ้วน ซึ่งมีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่นเดียวกัน ทั้งนี้การสร้างสมอง อวัยวะต่าง ๆ และระบบการทํางานทุกอย่างของร่างกาย รวมทั้งการเจริญเติบโตของ ทารก ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยอาหารและโภชนาการในการสร้างทั้งสิ้น การเตรียมความพร้อมของสตรีระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปีจะเป็นตัวกําหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้ ดังนั้น การสร้างคนไทยรุ่น ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้สุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค จึงต้องให้ความสําคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของ ชีวิต ร่วมกับอาหาร/เครื่องดื่มสะอาดปลอดภัย การดูแลสุขภาพช่องปาก การกอด การเล่น การนอน การอ่านเล่า นิทาน เป็นผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ (Full Potential Growth) สูงดีสมส่วน เทศบาลนครรังสิตเล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กตามนโยบายกรมอนามัยนั้น เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลกระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และพัฒนาการทางจิตใจ จึงจัดการดำเนินโครงการ Baby Box ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการโดยสามารถฝึกได้เองจากที่บ้าน ให้เด็กมี IQ,EQ ที่ดีรวมถึงการพัฒนาการทางด้านร่างกายด้วย เพื่อให้เติบโตไปเป็นคนที่มีคุณภาพต่อไป และเรายังให้ความสำคัญกับสุขภาพของมารดาหลังคลอด การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ คืออาหารที่มีโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินโฟเลท สารโฟเลซิน วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 12 ไอโอดีน โดยสารอาหารเหล่านี้มีอยู่มากในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ตับ เครื่องในสัตว์ นม ไข่ ถั่ว งา ผักและผลไม้ เพื่อซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอหลังการคลอด ซึ่งรากฐานสำคัญที่จะสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการดูแลสุขภาพและความสมบูรณ์ของมารดาจะทำให้มารดามีสุขภาพที่แข็งแรงและเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมมารดาด้วย เทศบาลนครรังสิตให้คุณค่าของการให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร และสนับสนุนให้มารดาได้รับนมเสริมเพื่อเป็นการสร้างสุขภาพที่ดี รวมถึงการสร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงดูทารกด้วย

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด
    4.2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอด มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร และการเลี้ยงดูทารกการให้นมแม่และอาหารเสริมลูกเป็นอย่างดี
    4.3 ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
    4.4 เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
    4.5 ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายมารดาและทารกหลังคลอดที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครรังสิต
    - เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    - จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
    - ขออนุมัติโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
   ขั้นดำเนินการ
    - จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตามโครงการ
    - ประสานทีมเครือข่ายสร้างสุขภาพ เพื่อส่งต่อกลุ่มเป้าหมาย
    - ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ตามตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    - ประเมินผลการดำเนินงาน
    - โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. 15-30 มี.ค. 67 2. 15-30 พ.ค. 67 3.15-30 ก.ค.67
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน 680  คน
    หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 51 คน หญิงหลังคลอด จำนวน 166 คน ทารกแรกเกิด 0-6 เดือน จำนวน 173 คน เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ถึงเด็กอายุ 1 ขวบ จำนวน 170 คน เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ถึงเด็กอายุ 2 ขวบ 6 เดือน จำนวน 120 คน
   กิจกรรม : 3. การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพก่อนคลอดและหลังคลอด
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       3. การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพก่อนคลอดและหลังคลอด
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาสุขภาพอื่น

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ เขตพื้นที่เทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 1,191,050.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด จำนวน 217 คน
- ชุดเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ได้แก่ นมสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ราคาแพคละ 250 บาท 3 แพค/คน จำนวน 217 คน เป็นเงิน 162,750.00 บาท
- ชุดอาบน้ำเด็ก (เพื่อสาธิตการอาบน้ำ) เช่น ถุงพลาสติกแบบมีซิปสำหรับใส่อุปกรณ์ สบู่เด็ก แชมพูเด็ก ฟองน้ำอาบน้ำ หวีเด็ก สำลี ผ้ายางกันเปียก อุปกรณ์ทำความสะอาดสะดือ ฯลฯ ราคาชุดละ 800 บาท จำนวน 217 ชุด เป็นเงิน 173,600.00 บาท
- เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า ราคาเครื่องละ 1,350 บาท จำนวน 217 เครื่อง เป็นเงิน 292,950.00 บาท
- ถุงเก็บน้ำนมแม่ ราคาแพคละ 150 บาท (1 แพค มี 25 ถุง) จำนวน 217 คนๆละ 4 แพค เป็นเงิน 130,200.00 บาท
- ผ้าคลุมให้นม ราคาผืนละ 350 บาท จำนวน 217 ผืน เป็นเงิน 75,950.00 บาท
- กระเป๋าใส่ของเยี่ยม ราคาใบละ 300 บาท จำนวน 217 ใบ เป็นเงิน 65,100.00 บาท
รวมเป็นเงิน 900,550.00 บาท
กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการ : ชุดส่งเสริมพัฒนาการ เป็นช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นของชีวิต โดยช่วงวัยนี้ เด็กจะมีพัฒนาการทั้ง 5 ด้านไปพร้อมๆกัน เช่น ชันคอ มองสี หันตามเสียง (สื่อในการให้ความรู้และส่งเสริมพัฒนาการ)
รวมเป็นเงิน 0.00 บาท
การเยี่ยมทารกแรกเกิด 0-6 เดือน จำนวน 173 คน
- ลูกบอลผ้า ราคาลูกละ 150 บาท จำนวน 173 ลูก เป็นเงิน 25,950.00 บาท
- ของเล่นเขย่ามือแบบมีเสียง ราคาอันละ 150 บาท จำนวน 173 อัน เป็นเงิน 25,950.00 บาท
รวมเป็นเงิน 51,900.00 บาท
การเยี่ยมทารก 6-9 เดือน จำนวน 170 คน
- ของเล่นเปียโน แบบมีเสียง ราคาอันละ 350 บาท จำนวน 170 อัน เป็นเงิน 59,500.00 บาท
- หนังสือผ้า คนละ 1 เล่ม ราคาเล่มละ 150 บาท จำนวน 170 คน เป็นเงิน 25,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 85,000.00 บาท
การเยี่ยมทารก 1 ขวบ - 2 ปี 6 เดือน จำนวน 120 คน
- รถของเล่นแบบมีลานวิ่งได้ คนละ 1 คัน ราคาคันละ 80 บาท จำนวน 120 คัน เป็นเงิน 9,600.00 บาท
- ชุดตัวต่อเสริมทักษะ คนละ 1 ชุด ราคาชุดละ 400 บาท จำนวน 120 ชุด เป็นเงิน 48,000.00 บาท
- รถขาไถ ราคาคันละ 800 บาท จำนวน 120 คัน เป็นเงิน 96,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 153,600.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,191,050.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและทารก
    2. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์มีโภชนาการที่เหมาะสมและให้นมบุตรอย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับให้อาหารเสริมทารกได้เหมาะสมตามวัย
    3. ร้อยละ 100 ของทารกได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการ
    4. ร้อยละ 100 เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
    5. ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลสามารถใช้สื่อเพื่อกระตุ้นพัฒนาการเป็น และมีความรู้ในการกระตุ้นพัฒนาการได้

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นายเพิ่มพงษ์ พุ่มวิเศษ หน่วยงาน สำนักงานเทศบาลนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนครรังสิต

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต