โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ วัยทำงานสดใส ไม่ Burnout 2567

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สำนักงานเทศบาลนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     ภาวะ Burn-out หรือ ภาวะหมดไฟจากการทำงาน "occupational phenomenon" เป็น ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง ที่องค์การอนามัยโลก ได้จัดอยู่ในกลุ่ม International Classification of Diseases (ICD) โดยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ทางผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ได้รวมเอาภาวะหมดไฟจากการทำงาน จัดให้อยู่ในแนวทางการวินิจฉัยโรค ฉบับที่ 11 (Revision of the International Classification of Diseases หรือICD-11)) อย่างไรก็ตาม แนวทางการวินิจฉัยฉบับเดิมคือ ICD-10 ก็ได้ปรากฏภาวะหมดไฟในการทำงานบ้างแล้ว แต่ใน ICD-11 นี้ได้เพิ่มรายละเอียดให้มีมากขึ้นกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในทางการแพทย์ยังถือว่าภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่ยังไม่ถึงขั้นเจ็บป่วยทางจิตเวช ความเบื่อหน่ายจากการทำงานเรื้อรังนั้น มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียด ซึ่งในทางจิตวิทยาแล้ว ได้มีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจและพูดถึงปัญหาดังกล่าวนี้มานานมากแล้ว โดยที่มองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างงานที่ทำกับความเบื่อหน่ายจากการทำงานเรื้อรัง ซึ่งคำว่า “burnout” เริ่มขึ้นในปี 1975 (Marlynn Wei, 2016) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาได้ให้คำจำกัดความว่า เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์เรื้อรังต่องานที่ทำในรูปแบบคือ มีอารมณ์อ่อนเพลียหรือรู้สึกไม่มีอารมณ์ที่จะทำงาน, เกิดภาวะ Cynicism (ขาดความรู้สึกสนุกในการทำงาน ขาดแรงจูงใจในงานที่ทำ เป็นต้น) ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และร่างกายหลายอย่าง อาทิเช่น มีภาวะนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่าย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นสาเหตุนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล บางรายมีพฤติกรรมติดสุราพึ่งยาเสพติด ซึ่งภาวะเครียดเรื้อรังนำไปสู่ปัญหาทางกายโรคเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ และเบาหวาน กว่า 60-80% จะต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครรังสิต เห็นความสำคัญในปัญหาของภาวะ burnout syndrome ซึ่งเป็นอีก 1 ปัจจัยในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการวัยทำงานสดใส burnout เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ มีการสร้างสุขภาพจิตที่ดี และสามารถปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง
    4.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ประชุมหารือบุคลากรฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวทาการจัดทำโครงการ
    - จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
   ขั้นดำเนินการ
    - ประชุมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานและมอบหมายหน้าที่
    - ให้ผู้เข้าร่วมอบรมทำแบบประเมินภาวะ Burnout Syndrome ( Pre-test / Post-test )
    - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การจัดการกับภาวะ Burnout Syndrome
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.4 กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 900  คน
   กิจกรรม : 5. การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานและการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.4 กลุ่มวัยทำงาน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       5. การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานและการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 ธันวาคม 2566 สิ้นสุด 15 กันยายน 2567

8. สถานที่ดำเนินการ ฟิวเจอร์อารีน่า ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 800,000.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มจำนวน 26 คนๆ ละ 8 ชั่วโมงๆ ละ 1200 บาท เป็นเงิน 249,600.00 บาท
- ค่าอาหารไม่ครบทุกมื้อ จำนวน 900 คนๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 405,000.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 900 คน เป็นเงิน 90,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม เป็นเงิน 9,200.00 บาท
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2x3 ตรม. ราคา ตรม.ละ 200 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,200.00 บาท
- ค่าเช่าเครื่องเสียง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรม (เช่าทั้งวัน) เป็นเงิน 45,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 800,000.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายรู้วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ
    2. ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายหลังอบรม 3 เดือน สามารถจัดการภาวะ Burnout ได้

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นายเพิ่มพงษ์ พุ่มวิเศษ หน่วยงาน สำนักงานเทศบาลนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนครรังสิต

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต