โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

3.หลักการเหตุผล
     ในสภาวะปัจจุบันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น ชิคุนกุนยา, ไวรัสซิกา ยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศและมีแนวโน้ม คาดการณ์เกิดการระบาดของโรคสูงขึ้นในทุกๆปี จากสถานการณ์การระบาดของประเทศไทย 5 ปีย้อนหลัง 2562-2566 พบผู้ป่วย ปี 2562 จำนวน 29,816 อัตราป่วยต่อแสนประชากร 44.85 อัตราตาย 0.16 (49 ราย), ปี 2563 จำนวน 17,816 อัตราป่วยต่อแสนประชากร 26.80 อัตราตาย 0.07 (12 ราย), ปี 2564 จำนวน 3,366 อัตราป่วยต่อแสนประชากร 26.80 อัตราตาย 0.06 (2 ราย), ปี 2565 จำนวน 45,145 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 68.22 ต่อแสนประชากร อัตราตาย 0.04 (29 ราย) ต่อแสนประชากร และปี 2566 1 มกราคม – เมษายน 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 11,885 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 17.96 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 13 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.10 ต่อแสนประชากร โดยจังหวัดที่อัตราป่วยสูงสุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ สงขลา, สมุทรสาคร, ภูเก็ต, กระบี่, ระยอง (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สถานการณ์จังหวัดปทุมธานี จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – เมษายน 2566 พบผู้ป่วย 523 ราย คิดเป็น 44.56 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 3 ราย อัตราตาย 0.26 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.57 พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย 289 ราย เพศหญิง 234 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.23 : 1 อัตราป่วยสูงเป็นลำดับที่ 11 ของประเทศ และลำดับที่ 1 ของเขตสุขภาพที่ 4 ในพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยสถิติย้อนหลัง 5 ปี พบผู้ป่วย ปี 2562 จำนวน 43 ราย, ปี 2563 จำนวน 11 ราย, ปี 2564 จำนวน 2 ราย, ปี 2565 จำนวน 83 ราย, ปี 2566 (1 ม.ค. 66 – เม.ย. 66) จำนวน 68 ราย ตามลำดับ โดยกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่พบในกลุ่มช่วงอายุ 10-14 ปี, 15-24 ปี และรองลงมาคือ 5-9 ปี ตามลำดับ ซึ่งช่วงอายุอยู่ในกลุ่มวัยเรียนและมักเกิดการระบาดในฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่นๆ โดยมาตรการควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคที่ได้ผลดีในขณะนี้ ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผล และ Performance ที่เป็นไปตาม Purpose ที่วิเคราะห์ไว้ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทั้งใน โรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการ วัด หรือศาสนสถาน โดยการพ่นหมอกควันสารเคมีขณะที่มีการรายงานผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการกำจัด/ทำลาย แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย จึงมีความจำเป็นในการดำเนินโครงการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการให้ความรู้ และทำความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ให้มีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันอย่างจริงจังในพื้นที่

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก ในประชากรทุกกลุ่มวัย
    4.2 เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้หรือคำแนะนำในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
    4.3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน/วัด/ศาสนสถาน

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดทำโครงการ, ขออนุมัติโครงการ
    - วิเคราะห์สถานการณ์โรคเพื่อประเมินความเสี่ยงตามบุคคล เวลา สถานที่
   ขั้นดำเนินการ
    - ประสานงานบุคลากรในสถานศึกษา วัดหรือศาสนสถาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เช่น บุคลากรครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน อสม. เป็นต้น
    - การดำเนินการประชาสัมพันธ์รวมถึงการแจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
    - รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งรังโรค ในชุมชน โรงเรียน วัดหรือศาสนสถาน
    - สอบสวนโรคและประสานการดำเนินงานกับเทศบาลนครรังสิตเพื่อทำการพ่นหมอกควันในชุมชนโรงเรียน วัดหรือสถานที่เกิดโรค เพื่อควบคุมการระบาดของโรค
    - สรุปการหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย House Index (HI), Container Index (CI) ในชุมชน โรงเรียน วัดหรือศาสนสถาน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 5000  คน
    **การประมาณการประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ หมู่ 5 และ หมู่ 6 ตำบลประชาธิปัตย์โดยรวมในการเข้าถึง
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาโรคติดต่อเรื้อรัง

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ พื้นที่ หมู่ 5-6 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 26,400.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- สื่อสิ่งพิมพ์ (ขนาด A4, สี หน้า-หลัง) เป็นเงิน 18,000.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x ครั้งละ 40 คน x 6 ครั้ง เป็นเงิน 8,400.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,400.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
    2. อัตราตายไม่เกิน 0.1 ต่อแสนประชากร
    3. ได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษา วัดหรือศาสนสถาน และชุมชนในการแก้ไขปัญหา ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายเป็นพาหะนำโรค

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นายเจนญ์จิรัฎฐ์ นาคสิงห์ทอง หน่วยงาน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายแพทย์รังสรรค์ บุตรชา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต