โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ ส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในสถานศึกษา

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

3.หลักการเหตุผล
     ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน (RSV) เป็นต้น สาเหตุเนื่องจากติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อโดยระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม สัมผัสน้ำมูก น้ำลาย การใช้สัมผัสสิ่งของร่วมกัน โดยส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว จากสถิติย้อนหลัง พบว่า ปี 2565 พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย จำนวน 81,314 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 122.88 ต่อแสนประชากร ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยสถานการณ์การระบาดของประเทศไทย ปี 2565 พบผู้ป่วย ภาคกลาง พบมากในกลุ่มอายุ 15-24 ปี (3,475 ราย), 25-34ปี (2,945 ราย), 10-14 ปี (2,392 ราย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากในกลุ่มอายุ 25-34 ปี (4,093 ราย), 15-24 ปี (3,746 ราย), 35-44 ปี (2,671 ราย) ภาคเหนือ พบมากในกลุ่มอายุ 15-24 ปี (3,157 ราย), 10-14 ปี (2,626 ราย), 7-9 ปี (2,438 ราย) ภาคใต้ พบมากในกลุ่มอายุ 7-9 ปี (2,073 ราย), 10-14 ปี (1,969 ราย), 25-34 ปี (1,914 ราย) และจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ คือ จังหวัดเชียงใหม่, นครราชสีมา, ระยอง, เชียงราย และชลบุรี ตามลำดับ (ข้อมูล ณ.วันที่ 3 ตุลาคม 2566 : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ จังหวัดปทุมธานี ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 23 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด 3,810 ราย คิดเป็นร้อยละ 324.64 ต่อแสนประชากร สัดส่วนอาชีพที่ป่วยมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน คิดเป็นร้อยละ 54% เด็กในความปกครอง 24% อาชีพ รับจ้าง/รับราชการ 10% ตามลำดับ ในพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยสถิติย้อนหลัง 5 ปี พบผู้ป่วยปี 2562 จำนวน 124 ราย, ปี 2563 จำนวน 39 ราย, ปี 2564 จำนวน 1 ราย(เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ลดลง), ปี 2565 จำนวน 24 ราย, ปี 2566 (1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค.66) จำนวน 66 ราย ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าว ได้ดำเนินการสอบสวนโรคแล้ว พบว่ากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ พบในช่วงอายุ 6-24 ปี , 0-5 ปี และรองลงมา คือ 25-59 ปี ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวัยเรียน เนื่องจากสถานศึกษาเป็นสถานที่ ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะมีนักเรียนจำนวนมาก และหนาแน่น มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีการกระจายเชื้อได้ง่าย ดังนั้น โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ เห็นความสำคัญในการดำเนินการ จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในสถานศึกษาขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีการดูแลป้องกันตนเองเพื่อลดการเกิดโรคระบาดในสถานศึกษาได้

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อลดอัตราป่วย/ตาย ของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในกลุ่มเด็กนักเรียน
    4.2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
    4.3 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียนสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจได้ด้วยตนเอง

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดทำโครงการ,ขออนุมัติโครงการ
    - วิเคราะห์สถานการณ์โรคเพื่อประเมินความเสี่ยงตามบุคคล เวลา สถานที่
    - จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ วัสดุอุปกรณ์ แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง
   ขั้นดำเนินการ
    - ประสานงานบุคลากร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บุคลากรครู แกนนำนักเรียน รวมถึงจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ
    - ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ในสถานศึกษา โดยสถานที่ในการจัดกิจกรรม ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนมัธยมนครรังสิต,โรงเรียนวัดแสงสรรค์,โรงเรียนอุดมวิทยา(สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
    - เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตรวจสอบข้อมูลการเจ็บป่วย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกรณีเกิดการระบาดในอนาคต
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 300  คน
    1. ครู/นักเรียนระดับขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนมัธยมนครรังสิต หมู่ 5 ต.ประชาธิปัตย์ จำนวน 100 คน 2. ครู/นักเรียนระดับขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนวัดแสงสรรค์ หมู่ 6 ต.ประชาธิปัตย์ จำนวน 100 คน 3. ครู/นักเรียนระดับขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนอุดมวิทยา หมู่ 6 ต.ประชาธิปัตย์ จำนวน 100 คน
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาโรคติดต่อเรื้อรัง

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ หอประชุมโรงเรียนมัธยมนครรังสิต,โรงเรียนวัดแสงสรรค์,โรงเรียนอุดมวิทยา(สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 63,800.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- สื่อสิ่งพิมพ์ 21 x 29.7 ซม. (ขนาด A4, สี หน้า-หลัง) จำนวน 10,000 แผ่นๆละ 1.8 บาท เป็นเงิน 18,000.00 บาท
- ป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 2.5 x 1 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400.00 บาท
- หน้ากากอนามัยผู้ใหญ่ จำนวน 200 กล่องๆละ 55 บาท เป็นเงิน 11,000.00 บาท
- หน้ากากอนามัยเด็ก จำนวน 100 กล่องๆละ 110 บาท เป็นเงิน 11,000.00 บาท
- ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 300 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 10,500.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 3 ครั้ง เป็นเงิน 5,400.00 บาท
- ค่าวัสดุและอุปกรณ์ เช่น กระดาษ ปากกา ฯลฯ จำนวน 300 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท เป็นเงิน 7,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 63,800.00 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,800.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. อัตราตาย ของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ไม่เกิน 0.1 ต่อแสนประชากร
    2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 80
    3. นักเรียนสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 80

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางสาวสุดารัตน์ ดอนมูล หน่วยงาน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายรังสรรค์ บุตรชา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต