โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ การป้องกันและค้นหาผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในชุมชน เขตเทศบาลนครรังสิต ปี 2567

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

3.หลักการเหตุผล
     ปัจจุบันปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในสังคมเพิ่มมากขึ้นทั้งในครัวเรือนและชุมชนเมื่อติดตามสถานการณ์ความรุนแรงในสังคม พบว่าร้อยละ 18 ของความรุนแรงมาจากปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละ 22 ของความรุนแรงเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้อยละ 38 ของความรุนแรงมาจากการดื่มสุรา และพบว่าสถานที่เกิดเหตุพบในชุมชนมากกว่าในบ้าน ซึ่งทำให้มีประชาชนที่เสี่ยงหรือสัมผัสความรุนแรงเพิ่มขึ้น แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยยาเสพติดเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันแก้ไขได้ จากข้อมูลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) บนระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การเข้ารับบริการสะสมตั้งแต่ปี 2559 ถึงปี 2565 จำนวน 27518 คน โดยผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่ก่อความรุนแรง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยพบ ผู้ป่วยยาเสพติดก่อความรุนแรง จำนวน 1463 คน 2783 คนและ 3527 ในปี2563 2564 และ 2565 ตามลำดับ โรคจิตเวชที่พบบ่อย ในผู้ป่วย SMI-V 4 อันดับโรค ได้แก่ 1) โรคความผิดปกติทางอารมณ์ 2) โรคจิตเวชอื่นๆ 3) โรคจิตเภท และ 4) โรคจิตเวชยาเสพติด สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง Serious Mental Illness with High Risk to Violence (SMI-V) หมายถึง ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการหรือพฤติกรรม ในข้อใดข้อหนึ่ง อย่างน้อย 1 ข้อ ตามเกณฑ์ต่อไปนี้ ได้แก่ 1) มีประวัติการฆ่าตัวตายด้วยวิธีการรุนแรงโดยตั้งใจจะให้เสียชีวิตตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 2) มีประวัติการก่อความรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น หรือสร้างความรุนแรงในชุมชนตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 3) อาการทางจิตปัจจุบันของผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิด หวาดระแวง เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงต่อผู้อื่น 4) มีประวัติก่อคดีอาญารุนแรงตลอดชีวิตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (คดีความผิดต่อชีวิต ต่อร่างกาย และเกี่ยวกับเพศ) การใช้สารเสพติดเป็นปัจจัยกระตุ้นนำไปสู่การเกิดอาการทางจิตที่รุนแรงขึ้น เช่น หลงผิด หวาดระแวง หูแว่ว ภาพหลอนพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ทำร้ายตนเองผู้อื่น หรือทำลายทรัพย์สินมีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม นำไปสู่ภาวะพร่องหรือการสูญเสียการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่น การดูแลตนเอง การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม เป็นต้น เป็นภาระโรคและความสูญเสียของสังคมไทย ซึ่งสามารถป้องกันแก้ไขได้หากมีระบบการดูแลที่ดี กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตโดยมุ่งเน้นการดูแลต่อเนื่องในชุมชนในผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการเกิดความรุนแรง ประกอบด้วยบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคง และฝ่ายปกครอง จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำตำบล ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน จัดเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งค้นหาและเฝ้าระวังการก่อความรุนแรงเพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง และส่งต่อเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย เฝ้าระวัง และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งเพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลต่อเนื่องจนสามารถอยู่ในชุมชนได้ไม่กลับมาป่วยซ้ำ กำเริบซ้ำหรือไม่ก่อความรุนแรงซ้ำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง ได้รับการประเมิน บำบัดรักษา และติดตามดูแลช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในชุมชนเขตเทศบาลนครรังสิต
    4.2 เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข ตำรวจ และแกนนำชุมชน มีความรอบรู้ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - กิจกรรมที่ 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) อย่างไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน (Seamless Care) (1 วัน)
   ขั้นดำเนินการ
    - กิจกรรมที่ 2. อบรมสร้างความรู้ของสังคมในประเด็นการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)
    - กิจกรรมที่ 3. ค้นหา คัดกรอง บำบัด และเฝ้าระวังผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในชุมชน (เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 3 เดือน รวม 6 ครั้ง)
    - กิจกรรมที่4. ซ้อมแผน การจัดการและเสริมพลังชุมชน Table Top Exercise (TTX) ในการจัดการระงับเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)
    - กิจกรรมที่ 5.สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 280  คน
    บุคลากรสาธารณสุข 10 คน ตำรวจ 5 คน แกนนำชุมชน 265 คน
   กิจกรรม : 2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   แผนสุขภาพ
       ปัญหายาเสพติด

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 99,650.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมที่ 1. อบรมสร้างความรู้ของสังคมในประเด็นการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ 35บาทx2มื้อx1วัน เป็นเงิน 3,500.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50คนๆละ 75บาท x1วัน เป็นเงิน 3,750.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ จำนวน 1 คน ๆละ 1 ชม.ๆละ600บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 13,850.00 บาท
กิจกรรมที่ 2. อบรมสร้างความรู้ของสังคมในประเด็นการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) 2 วัน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60คนๆละ 35บาทx2มื้อx2วัน เป็นเงิน 8,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60คนๆละ75บาทx2วัน เป็นเงิน 9,000.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ (600บาทx1ช.ม.x2วัน) เป็นเงิน 1,200.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คนx2วัน) เป็นเงิน 12,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 30,600.00 บาท
กิจกรรมที่ 3. ค้นหา คัดกรอง บำบัดและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในชุมชน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ35บาทx2มื้อx6วัน เป็นเงิน 21,000.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 50คนๆละ75บาทx6วัน เป็นเงิน 22,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 43,500.00 บาท
กิจกรรมที่4. ซ้อมแผน การจัดการและเสริมพลังชุมชน Table Top Exercise (TTX) ในการจัดการระงับเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60คนๆละ35บาทx2มื้อx1วัน เป็นเงิน 4,200.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60คนๆละ 75บาทx1วัน เป็นเงิน 4,500.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 60คนx50บาท เป็นเงิน 3,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 11,700.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 99,650.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง ได้รับการประเมิน บำบัดรักษา และติดตามดูแลช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในชุมชน เขตเทศบาลนครรังสิต
    2. ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุข ตำรวจ และแกนนำชุมชน มีความรอบรู้ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางลัดดา ขอบทอง หน่วยงาน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายสรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันฯ

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต