โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2567

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged society) เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิงขนาดและสัดส่วน ซึ่งในอนาคตอันใกล้ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือมีผู้สูงอายุร้อยละ 20 และคาดว่าในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือมีประชากรสูงอายุร้อยละ 28 จะเห็นว่าความเร็วของการเปลี่ยนจากสังคมสูงวัย (Aged society) เข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ของประเทศไทยจะใช้เวลาสั้นกว่ามากเมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆ การที่ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคหรือกลุ่มอาการสูงอายุจากความเสื่อม อันเนื่องมาจากการสูงวัยมากขึ้นตามด้วย ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยสูงอายุ จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยา รวมทั้งการดูแลรักษาฟื้นฟูที่แตกต่างจากผู้ป่วยวัยอื่นๆ เช่น ระบาดวิทยาของโรค ลักษณะทางคลินิก และการวินิจฉัยโรค ดังนั้นการดูแลรักษาจึงต่างจากผู้ป่วยวัยอื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่ยิ่งมีอายุมากการดูแลรักษาย่อมมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม หรือภาวะพลัดตกหกล้ม สมควรได้รับการดูแลรักษาที่เป็นเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและเหมาะสม จากการสำรวจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลนครรังสิต ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานภาครัฐขนาดใหญ่ มีพื้นที่ความรับผิดชอบ 20.8 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็นชุมชนย่อย 83 ชุมชน มีประชากรจำนวนทั้งหมด 84,344 คน (ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565) ประชากรผู้สูงอายุ(60 ปีขึ้นไป) จำนวน 5,284 คน คิดเป็นร้อยละ 27.46 แสดงให้เห็นว่าเทศบาลนครรังสิตเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) จากการคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2565 สามารถแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น กลุ่มติดสังคม 4,645 คน คิดเป็นร้อยละ 87.90 กลุ่มติดบ้าน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 2.34 กลุ่มติดเตียง 75 คน คิดเป็นร้อยละ 1.41 การแบ่งผู้สูงอายุออกเป็นกลุ่มตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ง่ายและครอบคลุมมากขึ้น เทศบาลนครรังสิตเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง จึงได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่บุคลากรสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถ ฟื้นฟูทักษะ ความรู้ในงานที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดใหม่ ทำใหม่ สร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานรวมทั้งมีการประสานทีมสหวิชาชีพเข้าร่วมดูแล ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุทั้งร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ สังคมเศรษฐกิจ ของบุคคล ครอบครัว เช่น มีทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพ นักพัฒนาสังคม หรือผู้นำชุม ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกัน เป็นต้น

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหา เรื่องการดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตัว ต่อผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น
    4.2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เพื่อรวบรวมข้อมูล มาวางแผนดำเนินกิจกรรม
    - ประชุมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและทีมงานศูนย์บริการสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อวางแผนดำเนินงานตามกิจกรรม
    - เขียนโครงการนำเสนอ เพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลนครรังสิต
   ขั้นดำเนินการ
    - จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ตามโครงการ
    - จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยทีมสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักการแพทย์แผนไทย และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG)
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.4 กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 40  คน
    ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง นักกายภาพบำบัด นักการแพทย์แผนไทย และผู้จัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
   กิจกรรม : 3. การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
      
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ [ข้อ 10(3)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.4 กลุ่มวัยทำงาน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       3. การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาสุขภาพอื่น

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 33,800.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาดำเนินการ (กระดาษ A4,ปากกา,ดินสอ,แม็กและลูกแม็ก ฯลฯ) เป็นเงิน 5,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 5,000.00 บาท
กิจกรรมเดือน มีนาคม 2567
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 85 บาท เป็นเงิน 3,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.00 บาท
กิจกรรมเดือน เมษายน 2567
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 85 บาท เป็นเงิน 3,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.00 บาท
กิจกรรมเดือน พฤษภาคม 2567
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 85 บาท เป็นเงิน 3,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.00 บาท
กิจกรรมเดือน มิถุนายน 2567
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 85 บาท เป็นเงิน 3,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.00 บาท
กิจกรรมเดือน กรกฎาคม 2567
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 85 บาท เป็นเงิน 3,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.00 บาท
กิจกรรมเดือน สิงหาคม 2567
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 85 บาท เป็นเงิน 3,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,800.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 85 ของกลุ่มเป้าหมายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหา เรื่องการดูแลสุขภาพ
    2. ร้อยละ 95 ของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางสาวจีราภรณ์ จิตพยัค หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายชั้น รักสูงเนิน ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุนครรังสิต

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต