โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ Book Start เด็กฉลาดเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วย 2 มือเรา

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

3.หลักการเหตุผล
     ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาในการสร้างนิสัยรักการอ่านเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ทำการสำรวจสถิติการอ่านของคนไทยในปี2544 ด้านการใช้เวลาในการอ่านหนังสือพบตัวเลขที่น่าตกใจคือ คนไทยอายุตั้งแต่ 10ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านหนังสือ 2.99 นาทีต่อวัน และคนไทยวัย 10-14 ปีอ่านหนังสือน้อยที่สุดใช้เวลาเพียง 1.28-4.43 นาทีต่อวัน จำนวนนี้รวมคนไทยทั้งที่อยู่ในเมือง นอกเมือง และทุกเพศ ดังนั้น การรณรงค์ส่งเสริมการอ่านทั่วทั้งสังคมไทยจึงมีความจำเป็นยิ่งดังแนวความคิดในการส่งเสริมนิสัยรักหนังสือในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ล้วนเปี่ยมด้วยสารัตถะที่สำคัญ และทรงคุณค่าสูงสุด ...เด็กเป็นอันมากมีความรักดีมาแต่กำเนิด จะเรียนจะเล่นจะทำสิ่งใด ก็มุ่งมั่นทำให้ดีเด่น ไม่มีปัญหาอุปสรรคหรือความลำบากยากแค้นใดๆจะกีดกั้นไว้ได้ เด็กเหล่านี้ผู้ใหญ่ควรสนใจและแผ่เมตตาเกื้อกูลประคับประคองให้เด็กมีโอกาสพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ดี ทั้งด้านการศึกษาและจิตใจเขาจะได้เจริญเติบโตเป็นคนดีพร้อม และเป็นตัวอย่างแก่เยาวชนทั่วไป... (พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ “วันเด็ก”ประจำปี2533) การริเริ่มโครงการ หนังสือเล่มแรก Bookstart ที่ดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ได้แนวคิดมาจากโครงการต้นแบบของประเทศอังกฤษ (Bookstart UK) ซึ่งเริ่มต้นโครงการเมื่อปี พ.ศ.2535 และโครงการตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan) ซึ่งเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 โดยให้ความสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6-9 เดือน โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรของรัฐ และเอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น เหตุผลที่พ่อแม่ต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟัง 1.เซลล์สมองของเด็กจะเติบโตและแตกกิ่งแยกก้านต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นให้ได้เรียนรู้ผ่านการใช้ ประสาทสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะทางตาและทางหู ยิ่งมีการกระตุ้นมากเท่าไร เส้นใยสมองจะยิ่งเกิดมากขึ้น เด็กก็ยิ่งฉลาดมากขึ้นตามไปด้วย การอ่านหนังสือให้ลูกฟังนอกจากจะเป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นแล้ว เมื่อพ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง ลูกจะได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วน เช่น หู ตา จมูก ลิ้นและสัมผัส ทางกายและทางใจ เมื่อพ่อแม่อุ้มลูกนั่งบนตัก ลูกจะได้รับความอบอุ่นจากการสัมผัส ยิ่งพ่อแม่ทำบ่อยๆ ลูกจะยิ่งได้รับความรักจากพ่อแม่ผ่านการเล่านิทานและอ่านหนังสือมากขึ้นเท่านั้น 2.การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นสิ่งง่ายๆ ที่พ่อแม่สามารถทำให้ลูกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงอุ้มลูกนั่งบนตัก แล้วเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ฟัง สมองของลูกจะเกิดการซึมซับได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากการได้รับการสัมผัสกายและสัมผัสใจ จากพ่อแม่และทุกคนที่อ่านหนังสือให้ฟัง และสัมผัสอย่างผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียดจึงสร้างภาวะที่พร้อมในการเรียนรู้ของเด็ก 3.การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นการเตรียมความพร้อม และพัฒนาสมองของลูก คำพูดของพ่อ แม่ ที่พูดด้วยภาษาที่ดีจากนิทานหรือหนังสือภาพ ทำให้ลูกได้ยิน สำเนียง เสียง ภาษาที่หลากหลาย พร้อมความหมายที่เห็นจากภาพ ภาษาและคำพูด ทำให้เด็กเกิดการรับรู้ ที่กระทบความรู้สึกผ่านการออกเสียงที่อ่อนโยนของพ่อแม่ 4.การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง นอกจากลูกจะได้ความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่แล้ว ลูกจะได้เรียนรู้จากการฟัง และการดู นำสู่การเรียนรู้ภาษาจากประสาทสัมผัสทางหู เด็กจะเก็บคำที่ได้ยิน ภาพที่ได้เห็นไว้ในสมอง ทำให้มีคำศัพท์เพิ่มขึ้นและเรียนรู้ในสิ่งรอบตัวมากจะจดจำส่วนภาษาที่สุภาพ สละสลวย สั้น กระชับ ได้ใจความจากการนำเสนอที่ซ้ำ ย้ำ ทวน อย่างถูกต้องยิ่งขึ้นตามไปด้วย 5.การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้ลูกเกิดจินตนาการเพราะได้คิดตาม ซึ่งจินตนาการนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญก่อนนำไปสู่การคิดหาข้อเท็จจริงของลูก การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้สมองของลูกถูกกระตุ้นให้ลูกคิดและเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น การคิดบ่อยๆ ยิ่งทำให้เซลสมองของลูกยิ่งแตกกิ่ง แยกก้านมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกฉลาดมากขึ้น 6.การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้ลูกเกิดสมาธิ ดูได้จากขณะที่ลูกฟังการเล่านิทานหรืออ่านหนังสือของพ่อแม่ ลูกจะจดจ่ออยู่กับการฟังเนื้อเรื่องที่พ่อแม่เล่าและดูภาพจากหนังสือ 7.การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ถือเป็นช่วงมหัศจรรย์ที่พ่อแม่ได้พูดคุยกับลูก เล่าเรื่อง จับลูก กอดลูกอย่างอ่อนโยน อีกทั้งเสียงเพราะๆ ของพ่อแม่ยังเป็นการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในขณะที่อยู่บนตักของแม่หรือในอ้อมกอดของพ่อ และได้ฟังเสียงของพ่อแม่ ทำให้ครอบครัวอบอวลด้วยความรัก และสร้างความอบอุ่นทางใจให้ลูกได้อย่างดีก่อนนอนในแต่ละคืน บางคนอาจจะเพลิดเพลินอยู่กับหนังเรื่องโปรด หนังสือที่ชื่นชอบ หรืออาจจะฟังเพลงเพื่อผ่อนคลาย แต่สำหรับเด็ก นิทานดีๆ สักเรื่อง แม้จะเป็นเรื่องเดิมๆ ที่ฟังมาแล้วนับสิบรอบ อ่านมาแล้วนับร้อยเที่ยว แต่ก็ทำให้หลับฝันดี และอิ่มสุขเหนือคำบรรยายจริงๆ

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อสร้างรูปแบบการให้ความรู้พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กผ่านกระบวนการส่งเสริมการอ่านหนังสือและเล่านิทานให้ลูกฟัง
    4.2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจของเด็ก โดยพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็ก ผ่านกระบวนการส่งเสริมการอ่านหนังสือและเล่านิทานให้ลูกฟัง

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - เตรียมและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบในด้านทักษะการเล่านิทาน เพื่อศึกษาหนังสือสำหรับเด็ก
    - ประชาสัมพันธ์แนะนำโครงการในกลุ่มผู้ปกครองที่นำบุตรหลานรับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี
   ขั้นดำเนินการ
    - รับสมัครคัดเลือกครอบครัวกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปปฏิบัติในการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความสุขร่วมกันจากกิจกรรมโดยใช้หนังสือเป็นสื่อกลาง
    - ให้ความรู้แก่พ่อ/แม่/ผู้ดูแลเด็ก ในรูปแบบทั้งรายบุคคลและกลุ่ม ในโรงพยาบาล ในศูนย์บริการสาธารณสุขในชุมชน
    - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ มีการนัดหมายอย่างเป็นระบบเพื่อการเยี่ยมบ้าน สังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ลูก และมีการพูดคุยปรึกษาสร้างความเข้าใจ ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล
    - ประเมินความพึงพอใจและประเมินพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 200  คน
    เด็กอายุ 0-5 ปี และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ในตำบลประชาธิปัตย์
   กิจกรรม : 5. การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย/กระบวนการเรียนรู้/ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       5. การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย/กระบวนการเรียนรู้/ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาสุขภาพอื่น

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ พื้นที่หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 6 ตำบลประชาธิปัตย์ เขตพื้นที่เทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 56,000.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าจัดซื้อชุดหนังสือนิทานส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จำนวน 200 ชุด ชุดละ 250 บาท เป็นเงิน 50,000.00 บาท
- ค่าป้ายเอ็กซ์สแตนด์ (X-Stand) ขนาด 80x180 เซนติเมตร พร้อมขาตั้ง ราคาป้ายละ 1,000 บาท จำนวน 4 ป้าย เป็นเงิน 4,000.00 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงานในการดำเนินงาน เช่น กระดาษ A4,ปากกา,ดินสอสี ฯลฯ เป็นเงิน 2,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 56,000.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กให้ความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการอ่านหนังสือและเล่านิทานร้อยละ 50

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางชุติมา เจริญรัตน์จรูญ หน่วยงาน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายรังสรรค์ บุตรชา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต