โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ ป้องกันและดูแลช่วยเหลือเยาวชนในสถานศึกษาและชุมชน ปี 2567

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

3.หลักการเหตุผล
     ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ ที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมทั้งด้านการป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ป้องกันการเสพติดซ้ำ ช่วยฟื้นฟูให้กลับเป็นคนดี เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สร้างประโยชน์และไม่เป็นภาระของสังคม อย่างไรก็ตามยังพบว่าผู้ติดยาเสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญพบว่าปัญหายาเสพติดมีการแพร่ระบาดมากขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่มีอายุอยู่ในช่วง ๑๒-๑๗ ปี ซึ่งเด็กและเยาวชนเหล่านี้คืออนาคตของชาติ เป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการใช้ยาเสพติดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่เริ่มก้าวเข้าสู่วัยรุ่น เป็นช่วงของการปรับตัว มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายสูงที่สุด ส่งผลให้มีความอยากรู้อยากลอง มีความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่นตัวเอง ซึ่งหากสามารถช่วยให้เยาวชนกลุ่มนี้ก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างเหมาะสม เด็กก็จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง ใช้ความสามารถและสติปัญญาได้อย่างเต็มศักยภาพ ในทาง ตรงกันข้าม หากเยาวชนกลุ่มนี้ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะมีผลทำให้สมองถูกทำลายอย่างมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตประสาทอย่างถาวรในอนาคต ส่งผลถึงการเรียน การเจริญเติบโต และเกิดการชักชวนเยาวชนอื่น ๆ ให้มาข้องเกี่ยวกับยาเสพติด ทำให้ปัญหายาเสพติดเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น จนเป็นปัญหาของสังคมและประเทศชาติจนยากที่จะแก้ไขในการแก้ไขปัญหายาเสพติดนั้นกลุ่มที่สำคัญคือกลุ่มเยาวชน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการแก้ปัญหาคือครอบครัว และโรงเรียนซึ่งถือเป็นบ้านที่สอง ครูที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของนักเรียนมากที่สุดคือครูประจำชั้น ที่จะต้องมีความใกล้ชิดเป็นพ่อแม่คนที่สองรองจากบิดามารดาของเด็ก ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนทั้งเรื่องการให้ข้อมูลความรู้ เจตคติต่อการยอมรับและให้โอกาสต่อความแตกต่างของเยาวชนแต่ละคนที่อาจผิดพลาดไปใช้ยาเสพติด ครูต้องสามารถสังเกต เฝ้าระวัง คัดกรองเยาวชนกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเริ่มเสพได้อย่างถูกต้อง และสามารถรีบให้การช่วยเหลือเยาวชนที่มีปัญหายาเสพติดในระยะต้น ๆ ได้ ก่อนที่จะมีการเสพติดที่รุนแรงมากขึ้น เพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนที่เริ่มติดยาเสพติดเกิดแรงจูงใจ เห็นโทษภัยของยาเสพติด และสามารถลดละเลิกยาเสพติด และกลับมาใช้ชีวิตในสังคมโรงเรียน สามารถเรียนหนังสือได้ตามปกติต่อไปได้ และยังรวมไปถึงในชุมชนด้วย การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการร่วมใช้ทรัพยากรในชุมชน กับองค์ความรู้ทางสาธารณสุขมาดูแลจัดการแก้ไขปัญหาจากยาเสพติดตามบริบทของพื้นที่ ข้อมูลสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ในปี 2563 , 2564 และ 2565 จำนวน 5,638 ,5,188 และ 4,140 และเป็นกลุ่มเยาวชน ร้อยละ 11.23 ,9.58 และ9.28 ตามลำดับ (4) สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดจึงได้ดำเนินโครงการป้องกันและดุแลช่วยเหลือเยาวชนในสถานศึกษาและชุมชน ขี้น

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 สร้างความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างบูรณาการในสถานศึกษาระหว่าง บ้าน โรงเรียน ชุมชน และกลุ่มเยาวชน
    4.2 สร้างแกนนำเยาวชนที่จะเป็นกำลังที่เข้มแข็งในการป้องกันตนเอง และช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่อาจมีโอกาสพลาดไปใช้ยาเสพติด แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
    4.3 ครูมีความสามารถในการสังเกตอาการ การคัดกรอง และการให้การช่วยเหลือเยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดหรือเริ่มมีพฤติกรรมใช้ยาเสพติดในระยะต้นๆ และสามารถสร้างแรงจูงใจ ช่วยให้เกิดความคิดและเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกใช้ยาเสพติดในที่สุด
    4.4 เยาวชนที่มีปัญหาเริ่มใช้ยาเสพติดได้รับการคัดกรอง ให้คำแนะนำ สร้างแรงจูงใจ ติดตามช่วยเหลือจนสามารถเลิกใช้ยาเสพติดได้อย่างต่อเนื่อง และป้องกันการเสพติดซ้ำ

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - กิจกรรมที่ ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับผู้บริหารของสถานศึกษา ร่วมกับสมาคมผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
   ขั้นดำเนินการ
    - กิจกรรมที่ ๒. ประชุม/อบรมให้ความรู้แก่ครอบครัวผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย x 2 วัน (จำนวน 12 ชั่วโมง) (ติดตามการนำไปใช้) (กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวผู้ปกครอง)
    - กิจกรรมที่ 3. อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน จำนวน 18 ชั่วโมง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติของเยาวชนต่อยาเสพติด และสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อเป็นเครือข่ายป้องกันยาเสพติดในห้องเรียน และติดตามการนำไปใช้
    - กิจกรรมที่ 4. อบรมความรู้ แก่ ครู ก.ในเรื่องการสังเกตอาการ การเฝ้าระวัง การคัดกรอง การให้คำแนะนำช่วยเหลือเบื้องต้น, การใช้เครื่องมือ เทคนิค วิธีการของ Design Thinking และCognitive Behavioral Techniques ในการสื่อสาร ให้คำปรึกษาและ ออกแบบกิจกรรม เพื่อป
    - กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ เสริมสร้างแรงจูงใจ เด็กและเยาวชน ในการให้คำปรึกษา การคัดกรองและบำบัดช่วยเหลือเยาวชนที่พลาดไปเสพยาเสพติดและติดตามต่อเนื่องจนครบ 3 เดือน
    - กิจกรรมที่ ๖ ประชุมเชิงปฏิบัติการในการติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการ
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 350  คน
    - เด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 10 – 20 ปี ในโรงเรียนประถม/มัธยม/สถานศึกษา /ชุมชน จำนวน 200 คน - ครอบครัว /ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 10 – 20 ปี ในโรงเรียนประถม/มัธยม/สถานศึกษา/ชุมชน จำนวน 50 ครอบครัว - ครูของเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 10 – 20 ปี ในโรงเรียนประถม /มัธยม/สถานศึกษาในโรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 100 คน
   กิจกรรม : 8. การป้องกันและลดปัญหาด้านสารเสพติด/ยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       8. การป้องกันและลดปัญหาด้านสารเสพติด/ยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
   แผนสุขภาพ
       ปัญหายาเสพติด

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และโรงเรียนในเขตเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 100,200.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมที่ 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับผู้บริหารของสถาน ศึกษา ร่วมกับสมาคมผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20คนๆละ 35บาทx2มื้อ เป็นเงิน 1,400.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมประชุม 20คนๆละ 75บาท เป็นเงิน 1,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 2,900.00 บาท
กิจกรรมที่ 2. ประชุม/อบรมให้ความรู้แก่ครอบครัวผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย x 1 วัน (และติดตามการนำไปใช้)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ35บาทx2มื้อx1วัน เป็นเงิน 3,500.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมประชุม 50คนๆละ75บาทx1วัน เป็นเงิน 3,750.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ จำนวน 1 คน ๆละ1 ช.ม.ๆละ600บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 50คนx50บาท เป็นเงิน 2,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 16,350.00 บาท
กิจกรรมที่ 3. อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน จำนวน 18 ชั่วโมง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติของเยาวชน ต่อยาเสพติด และสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อเป็นเครือข่ายป้องกันยาเสพติดในห้องเรียน และติดตามการนำไปใช้ 3 วัน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ35บาทx2มื้อx3วัน เป็นเงิน 10,500.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมประชุม 50คนๆละ 75บาทx3วัน เป็นเงิน 11,250.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ จำนวน 1 คนๆละ 1 ช.ม.ๆละ600บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 50คนx50บาท เป็นเงิน 2,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 30,850.00 บาท
กิจกรรมที่4. อบรมความรู้ แก่ ครูก.(บุคลากรสาธารณสุข /ครู) 2 วัน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ35บาทx2มื้อx2วัน เป็นเงิน 7,000.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมประชุม 50คนๆละ75บาทx2วัน เป็นเงิน 7,500.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ จำนวน 1 คนๆละ 1 ชม.ๆละ 600บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 50คนx50บาท เป็นเงิน 2,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 23,600.00 บาท
กิจกรรมที่ 5. อบรมให้ความรู้ เสริมสร้างแรงจูงใจ เด็กและเยาวชน ในการให้คำปรึกษา การคัดกรองและบำบัดช่วยเหลือเยาวชนที่พลาดไปเสพยาเสพติดและติดตามต่อเนื่องจนครบ 3 เดือน (3วัน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40คนๆละ35บาทx2มื้อx3วัน เป็นเงิน 8,400.00 บาท
- - ค่าอาหารกลางวันและเครื่ิองดื่มของผู้เข้าร่วมประชุม 40คนๆละ75บาทx3วัน เป็นเงิน 9,000.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐจำนวน 1 คนๆละ1ชม.ๆละ 600บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 50คนx50บาท เป็นเงิน 2,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 26,500.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,200.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ80 ของครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และความตระหนักถึงโทษพิษภัยของยาเสพติดได้อย่างถูกต้อง
    2. ร้อยละ 90 ของเยาวชนที่มีปัญหาติดยาเสพติดได้รับการคัดกรอง จูงใจและการให้คำแนะนำดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
    3. ร้อยละ 80 ของเยาวชนที่มีปัญหาติดยาเสพติดได้รับการให้คำแนะนำดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนครบ 3 เดือน
    4. ร้อยละ 80 ของบุคลากรสาธารณสุข ครู ครอบครัว ประชาชน ได้รับความรู้ ทักษะ การคัดกรอง บำบัดและติดตามในชุมชน

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางลัดดา ขอบทอง หน่วยงาน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายสรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันฯ

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต