โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของเด็กและเยาวชน

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     ในปัจจุบันจากสถิติศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลตั้งแต่ปี 2547- ปัจจุบัน ผู้ถูกกระทำความรุนแรงซึ่งเป็นเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงมารับบริการทั้งสิ้น247,480 ราย โดยการกระทำรุนแรงในเด็กมีสาเหตุมาจากการปล่อยปละละเลยของครอบครัว ขาดการดูแลอย่างเหมาะสมจนเป็นเหตุให้เด็กถูกกระทำความรุนแรงทางเพศมากที่สุด ส่วนใหญ่จะถูกกระทำโดยคนใกล้ชิด สาเหตุของการกระทำความรุนแรง พบว่า เกิดจากผู้กระทำดื่มแอลกอฮอล์ และใช้ยาเสพติด นอกจากนี้เกิดจากความเครียด ปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเลียนแบบพฤติกรรมจากสื่อต่าง ๆ สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำความรุนแรง แบ่งได้เป็น ทางด้านร่างกาย เช่น มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ผิดปกติ ขาดสารอาหาร พิการ เป็นต้น ทางด้านจิตใจ ได้แก่ ขาดความมั่นคงทางจิตใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึมเศร้า หวาดระแวง มีปัญหาสุขภาพจิตหรือความเครียดอย่างรุนแรง จนนำไปสู่การพึ่งพายาเสพติด หรือการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ทางด้านสังคม ได้แก่ ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต แยกตัวออกจากสังคม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นไม่ได้ ต่อต้านสังคม กระทำความรุนแรงต่อบุคคลอื่น เป็นต้น สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิตจึงตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการใช้ความรุนแรง จึงจัดทำโครงการความรุนแรงในเด็กและเยาวชน ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ตระหนักถึงการแก้ปัญหาโดยมุ่งไปที่ตนเอง เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างภาคภูมิ

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา
    4.2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากปัญหาที่เกิดขึ้น
    4.3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้การแก้ปัญหาและการรับมือให้ถูกวิธี

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดประชุมคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิตเพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินโครงการ
    - จัดหากลุ่มวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านปัญหาความรุนแรง
   ขั้นดำเนินการ
    - ประชาสัมพันธ์เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
    - ประสานวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านการป้องกันการยุติความรุนแรง
    - จัดอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันการยุติความรุนแรง
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 100  คน
    เด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลนครรังสิต ที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีถึง 15 ปี จำนวน 100 คน
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.5 กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น[ข้อ 10(2)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาสุขภาพอื่น

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 เมษายน 2567 สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2567

8. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 อาคารจอดรถ

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 30,380.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าวิทยากรกลุ่มภาคเอกชน 2คน คนละ 5 ชม. ชม.ละ 1200 บาท เป็นเงิน 12,000.00 บาท
- ค่าวัสดุที่ใช้ในโครงการ เช่น กระดาษ A4 5 รีม, ปากกาเคมีสีดำ 2 กล่อง, ปากกาเคมีสีน้ำเงิน 2 กล่อง, กระดาษฟลิปชาร์ท 70 แกรม 1 ม้วน, เทปกระดาษกาวย่น 6 ม้วน, ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน 2 กล่อง เป็นเงิน 2,880.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ราคามื้อละ 85 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 8,500.00 บาท
- ค่าอาหารว่างละเครื่องดื่ม มื้อละ 35 บาท จำนวน 100 คน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,380.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถแก้ปัญหา ป้องกันและรับมือความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างถูกวิธี
    2. ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และความเข้าใจ ถึงสถานการณ์ความรุนแรงในสังคมปัจจุบัน และสามารถถ่ายทอดการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างถูกวิธ๊

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางสาวพรรณิภา กลิ่นสายหยุด หน่วยงาน สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางสาวภัครดา ช้างพลายจิต ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ประธานสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต