โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ การประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนเพียรปัญญา

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงเรียนเพียรปัญญา

3.หลักการเหตุผล
     หลักการเหตุผล ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัว และเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน อันตรายของโรคอ้วนในเด็กซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบความชุกของโรคอ้วนในเด็กวัย 6-11 ปี เพิ่มจาก ร้อยละ 7 ในปี 1980 เป็น ร้อยละ 15.3 ในปี 2000 องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าทั่วโลกมีประชากรอย่างน้อย 300 ล้านคนที่กำลังเผชิญปัญหา นอกจากนี้มีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบาดวิทยาของโรคในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า หลังจากวัยทารก เด็กหญิงจะอ้วนมากกว่าเด็กชาย เด็กที่อ้วนเมื่ออายุ๖ ขวบขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วนร้อยละ ๒๕ ในขณะที่เด็กอ้วนเมื่ออายุ ๑๒ ปี จะมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วนมากถึง ร้อยละ ๗๕ สำหรับประเทศไทยแนวโน้มภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นมากจนน่าเป็นห่วง จากข้อมูลระบบHealthData Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปี ๒๕๕๗ เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ ๑๑.๔ และปี ๒๕๕๘ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๒.๕ โดยเขตสุขภาพที่ ๓ มีอัตราของภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเป็นอันดับที่ ๒ ของระดับประเทศ ร้อยละ ๑๙.๙เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น นอกจากนี้ในกรณีที่เด็กที่ป่วยด้วยโรคอ้วนขั้นรุนแรง มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือทำให้เกิดกลุ่มอาการ Pickwickian Syndrome ส่งผลขัดขวางต่อการเรียนหนังสือ ทำให้ง่วงนอนทุกครั้งที่นั่ง ทางโรงเรียนเพียรปัญญาจึงได้คิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กให้หันมาสนใจและให้ความรู้สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน อันตรายของโรคอ้วนในเด็กซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนามากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิดและเพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    4.2 เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินภาวะโภชนาการ
    - ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กที่พ่อแม่นำมาฝาก ทุก ๓ เดือน
    - บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพ
   ขั้นดำเนินการ
    - เชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สตมีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
    - ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม
    - สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 49  คน
    อบรมครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) โรงเรียนเพียรปัญญา
   กิจกรรม : 2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.4 หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น[ข้อ 10(2)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 15 มิถุนายน 2562 สิ้นสุด 15 กันยายน 2562

8. สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเพียรปัญญา

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 25,650.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 49 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,225.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200.00 บาท
- ค่าวัสดุ-อุปกรณ์และถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่มประกอบการอบรม 30 ชุด เป็นเงิน 1,625.00 บาท
- นมจืด 15 คนๆละ 9 กล่อง /สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เป็นเงิน 16,200.00 บาท
- ไข่ไก่ 15 คนๆละ 1 ฟอง/วัน จำนวน 90 วัน เป็นเงิน 5,400.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,650.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 ของผู้รับการอบรมสามารถประเมินภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง
    2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะโภชนาการเกินหรือทุพโภชนาการได้รับการดูแลและคำแนะนำที่เหมาะสม

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางบุณยณัฐ ไตรรัตน์ หน่วยงาน โรงเรียนเพียรปัญญา
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางสาวนที รักธัญญะการ ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ครูรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต