โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ รู้...ทัน...ครรภ์เกินกำหนด ลด Birth Asphyxia

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

3.หลักการเหตุผล
     การตั้งครรภ์เกินกำหนด คือการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน42 สัปดาห์(294วัน)หรือมากกว่า40 สัปดาห์(280 )เมื่อนับจากวันตกไข่ พบได้ประมาณร้อยละ4-19ของการตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อทารก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนจากรกเสื่อมสภาพ หรือการสำลักขี้เทา(MAS) จากปัญหาขี้เทาปนในน้ำคร่ำหรือน้ำคร่ำน้อย ในรายที่รุนแรงทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ทารกบางรายคลอดแล้วมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาเช่นน้ำตาลในเลือดต่ำ ฯอาการชัก บางรายเกิดความพิการทางด้านร่างกายและสมอง ผลต่อมารดาเมื่อตั้งครรภ์เกินกำหนด อาจทำให้ทารกตัวโต (macrosomia) คลอดยาก ช่องทางคลอดฉีกขาด คลอดติดไหล่ มีการบาดเจ็บจากการคลอดทั้งมารดาและทารก บางรายทารกเสียชีวิตในครรภ์ มีผลกระทบต่อจิตใจของมารดา บิดาและญาติพี่น้อง ทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ต้องเลี้ยงดูบุตรที่พิการ เป็นภาระ ของครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ งานห้องคลอด โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ในปี 2560 พบทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 1 ราย และเสียชีวิตในระยะคลอด จากการทบทวนถึงกระบวนการการดูแลมารดาในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะคลอด พบสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดคือ การวินิจฉัยความเสี่ยงล่าช้า การเฝ้าระวังที่ไม่ครอบคลุมเนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม เฝ้าระวังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ซึ่งการดูแลรักษามารดาที่ตั้งครรภ์เกินกำหนดในช่วงขณะเจ็บครรภ์ และช่วงคลอดบุตรเป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ได้ให้บริการฝากครรภ์ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ฝากทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ ทำให้ผู้มารับบริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ใน ตำบลประชาธิปัตย์ ควรได้รับการดูแลในขณะตั้งครรภ์ให้ได้ตามมาตรฐาน และมีการติดตามสุขภาพทารกในครรภ์โดยการใช้เครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และการบีบรัดตัวของมดลูก (NST/EFM) ทุกราย ตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ จนถึงระยะคลอด ทำให้เครื่องไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อาจส่งผลเสียแก่ผู้รับบริการ งานห้องคลอดจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องการ และลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โดยขอสนับสนุนเครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และการบีบรัดตัวของมดลูก (NST/EFM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ให้บรรลุเป้าหมาย “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย”

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในตำบลประชาธิปัตย์ และพื้นที่ใกล้เคียง (เครือข่ายรพ.ประชาธิปัตย์) ได้รับการตรวจวินิจฉัย และเฝ้าระวังภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์จากเครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุกราย

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - เขียนโครงการ ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
    - ประชุมชี้แจงผ่านแกนนำชุมชน/อสม. เพื่อให้ข้อมูลและค้นหากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในตำบลประชาธิปัตย์ ให้มาฝากครรภ์ และให้ได้รับการดูแลตามมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก
    - ประสานงานศูนย์บริการสาธารณสุขของภาครัฐ เพื่อนัดหญิงตั้งครรภ์ให้มารับบริการ
   ขั้นดำเนินการ
    - ทีมแกนนำชุมชน/เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ออกมาให้บริการ ตามที่พื้นที่เป้าหมาย ( ทุกวันพุธ ของเดือน โดยประสานงานไปที่ศูนย์บริการสาธารณสุขของภาครัฐ เดือนละ 1 ครั้งต่อศูนย์บริการ ) โดยมีแกนนำชุมชนหรือประชาชนแนำนำมารับบริการ ถ้าพบว่ามีภาวะเสี่ยงของการตั้
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน 430  คน
    หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์และพื้นที่ใกล้เคียง (เครือข่ายรพ.ประชาธิปัตย์) ที่มาใช้บริการทุกราย
   กิจกรรม : 2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2561 สิ้นสุด 15 กันยายน 2562

8. สถานที่ดำเนินการ ม.1-ม.6 ตำบลประชาธิปัตย์ และศูนย์บริการสาธารณสุข ในเครือข่าย

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 350,000.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- เครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และการบีบรัดตัวของมดลูก เป็นเงิน 350,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 350,000.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. 1. หญิงตั่งครรภ์ทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองทุกรายจากเครื่องตรวจบันทึกการเต้นของทารกในครรภ์
    2. 2.ทารกแรกเกิดไม่เสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางทิติยา บุญประกอบ หน่วยงาน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางพิไลลักษณ์ เมชฌสมภพ ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต