โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนและนักเรียนมัธยมศึกษา ให้มีความรู้และเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

3.หลักการเหตุผล
     ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้แก่ โรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่นการไม่ออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ความเครียด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุจราจร ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ป่วยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงแล้วยังเป็นภาระกับครอบครัว ชุมชน เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาในการดูแลรักษานาน และอาจจะมีอาการรุนแรงขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จากการที่ รพ. ส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลับบ้านให้ อสม/แกนนำชุมชน และครอบครัวเป็นผู้ดูแล และมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งยังไม่เข้าถึงบริการสาธารณสุข นอนรักษาตัวที่บ้าน การดำเนินงานเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลโดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ แสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพตนเองรวมถึงชุมชนต้องมีกระบวนการจัดการด้านสุขภาพ เช่น การเฝ้าระวังการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ การส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดบริการสาธารณสุขเบื้องต้นในชุมชน (Primary Health Care Service ) จากการดำเนินงาน ในปีที่ผ่านมา มีการกำหนดเป้าหมายให้บริการประชาชนทุกกลุ่มวัยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถลดโรคภัยคุกคาม การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย ประกอบด้วยกลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) กลุ่มเด็กวัยเรียน (5-14ปี) กลุ่มเด็กวัยรุ่น (15-21ปี) กลุ่มวัยทำงาน (15-59ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป/ผู้พิการ) ดังนั้น ในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ภาคประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสุขภาพ โดยมีแกนนำชุมชน/จิตอาสา นักเรียนมัธยมศึกษา เป็นผู้ประสานงานระหว่างภาครัฐและประชาชน เราจึงจำเป็นต้องให้ความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย โดยการสนับสนุน ให้มีขีดความสามารถเป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน ด้วยการสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนของบุคลากรสาธารณสุขในการให้ความรู้/ทักษะให้กับแกนนำชุมชน/จิตอาสา นักเรียนมัธยมศึกษา เพื่อให้งานบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน/จิตอาสา นักเรียนมัธยมศึกษา ให้มีความรู้ และทักษะในการจัดการสุขภาพชุมชนได้อย่างถูกต้องในเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน /การป้องกันอุบัติเหตุจราจร
    4.2 2. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของแกนนำชุมชน/จิตอาสา ในการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้ถูกต้องตามความเหมาะสม

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดประชุม ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ แกนนำชุมชน/จิตอาสา นักเรียนมัธยมศึกษา ที่สมัครใจและมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม อบรม สอน/สาธิต เพื่อให้ความรู้ สร้างทักษะในการคัดกรองโรคเรื้อรังแก่ประชาชน ทักษะในการจัดการสุขภาพชุมชนได้อย่างถูกต้องในเรื่องการช่วยฟื
    - จัดตั้งคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเพื่อดูแลซักถาม ให้คำแนะนำในระหว่างก่อนหลังการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ
    - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหารูปแบบวิธีดำเนินงานอบรม สอน สาธิต การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้เกิดทักษะ แม่นยำ ถูกต้อง
   ขั้นดำเนินการ
    - จัดประชุม ชี้แจงตามแผนให้บริการเชิงรุก กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหารูปแบบวิธีดำเนินงานอบรม สอน สาธิต การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้เกิดทักษะ แม่นยำ ถูกต้อง ความรู้ สร้างทักษะในการคัดกรองโรคเรื้อรังแก่ประชาชน ทักษะในการจัดการสุขภาพชุมชนได้อย่างถูกต้
    - ติดตามประเมินผล 1 มิถุนายน 2562- 13 กันยายน 2562
    - ออกเยี่ยมติดตาม ประเมินผล แกนนำชุมชน/จิตอาสา /นักเรียนมัธยมศึกษ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อดูแลและเพิ่มทักษะ ความรู้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ การช่วยเหลือ การคัดกรองโรคเรื้อรังการช่วยฟื้นคืนชีพ ป้องกันอุบัติเหตุจราจรและการใ
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 400  คน
    แกนนำชุมชน ( ม.1-ม.6 จำนวน 160 คน ) นักเรียนมัธยมศึกษ จำนวน 240 คน
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2562 สิ้นสุด 15 กันยายน 2562

8. สถานที่ดำเนินการ หมู่1-หมู่6 ต. ประชาธิปัตย์/โรงเรียนมัธยมในเขตรับผิดชอบ

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 479,720.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าหูฟัง Stethoscope (ผู้ใหญ่) เป็นเงิน 28,000.00 บาท
- ค่าหูฟัง Stethoscope (เด็ก) เป็นเงิน 7,000.00 บาท
- เครื่องวัดความดันโลหิต (ปรอท) แบบล้อลาก เป็นเงิน 25,500.00 บาท
- เครื่องวัดความดันอัตโนมัติชนิดตั้งโต๊ะ เป็นเงิน 6,500.00 บาท
- นาฬิกาจับเวลาเตือนด้วยเสียง เป็นเงิน 77,040.00 บาท
- Mascot รถ 1669 ติดไซเรนเปิดไฟได้ เป็นเงิน 32,000.00 บาท
- Mascot คนสวมชุดลวดลายคล้ายสไปเดอร์แมนใส่หมวกกันน็อคเต็มใบ เป็นเงิน 30,000.00 บาท
- เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติชนิดพกพา (AED) เป็นเงิน 240,000.00 บาท
- เตียงสนามสำหรับผู้ป่วย เป็นเงิน 5,700.00 บาท
- โทรทัศน์ LG 43 นิ้ว เป็นเงิน 27,980.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 479,720.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 แกนนำชุมชน/จิตอาสา สามารถตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง และให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
    2. ร้อยละ 80 แกนนำชุมชน/จิตอาสา และนักเรียนมัธยมศึกษา มีความรู้ และทักษะในการจัดการสุขภาพชุมชนได้อย่างถูกต้องในเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน /การป้องกันอุบัติเหตุจราจร

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางทิติยา บุญประกอบ หน่วยงาน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางพืไลลักษณ์ เมชฌสมภพ ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต