โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ กายภาพบำบัดใส่ใจอาการปวด

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน งานศูนย์บริการสาธารณสุข ผ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

3.หลักการเหตุผล
     จากสถิติผู้ที่เข้ามารับบริการด้านกายภาพบำบัดที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (AT2C) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จาก ปี 2559 ถึง ปี 2561 มีจำนวนจาก 198 ราย เป็น 696 ราย ซึ่งเพิ่มจากเดิม 3 เท่าตัว โดยกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการมากที่สุดเป็นกลุ่มกระดูกและกล้ามเนื้อ มีการเพิ่มจากปี 2559 ถึง ปี 2561 ซุ่งมีจำนวน 195 ราย เป็น 615 ราย โดยจำแนกป็นโรคได้ดังนี้ Office syndrome ,Golf elbow ,Tennis elbow ,ปวดคอ ,ปวดหลัง ,ไหล่ติด ,นิ้วล๊อค ,ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและการใช้งานร่างกายโดยผิดหลักของการยศาสตร์ และโรคต่างๆข้างต้นสามารถป้องกันและรักษาอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพยาธิสภาพรวมถึงการใช้ท่าทางการทำงานต่างๆในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งสอนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและตรวจประเมินและวิเคราะห์ผลด้วยการตรวจประเมินทางสถิติด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดเป็นารายบุคคล

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพและการป้องกันการเกิดโรคต่างๆของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    4.2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและออกกำลังกายในภาวะอาการปวดที่เกิดจากกลุ่มโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
    - ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
    - ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดเตรียมอุปกรณ์
   ขั้นดำเนินการ
    - ตรวจวิเคราะห์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดและอบรมให้ความรู้เป็นรายบุคคล
    - เก็บรวบรวมข้อมูลและแปลผลการตรวจร่างกายด้วยโปรแกรม SPSS ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ
    - จัดโปรแกรมการรักษาเป็นรายบุคคลเพื่อกลับไปฟื้นฟูเองที่บ้าน
    - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 4 หัวข้อ ดังนี้ Office syndrome, ปวดหลัง, ข้อเข่าเสริม, ปวดไหล่
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 60  คน
    ประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครรังสิต
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 เมษายน 2562 สิ้นสุด 31 กรกฎาคม 2562

8. สถานที่ดำเนินการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (AT2C)

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 21,000.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สาหรับงานประมวลผล เป็นเงิน 21,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,000.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 70 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพและการป้องกันการเกิดโรคต่างๆของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ในระดับ ดี-ดีมาก
    2. ร้อยละ 70 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและออกกำลังกายในภาวะอาการปวดที่เกิดจากกลุ่มโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในระดับ ดี-ดีมาก

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า  หน่วยงาน งานศูนย์บริการสาธารณสุข ผ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายภัทรพล ภูคุ้มจันอัด ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต