โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ปี2566

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

3.หลักการเหตุผล
     ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและพฤติกรรม มนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของเชื้อโรค การใช้ยาไม่ถูกต้องเกิดการดื้อ ต่อยาปฏิชีวนะ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม รวมทั้งผลจากเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของสัตว์ นำโรค และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญเหล่านี้เป็นสาเหตุให้โรคอุบัติใหม่ส่วนใหญ่มี ธรรมชาติที่ซับซ้อนยากต่อการจัดการและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิดเนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โรคติดต่อทางระบบ หายใจ (ไข้หวัดใหญ่,ไวรัสซิกา) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ฉี่หนู) การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมี ส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาค ประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหาจึงจะ สามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและ สภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเองหน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหา สุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคติดต่อตามฤดูกาล
    4.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุม ป้องกันโรคอย่างเป็นระบบ
    4.3 เพื่อสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดำเนินการป้องกันและ ควบคุมโรคติดต่อ
    4.4 เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ในการควบคุมโรคติดต่อ

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางในการดำเนินงาน
    - ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน
    - วางแผน มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
   ขั้นดำเนินการ
    - กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุข
    - กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมป้องกันโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรคติดต่อตามฤดูกาล ประกอบด้วยจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในแต่ละ กิจกรรม จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายไวนิล สติกเกอร์ ฯลฯ จัดทำแผนพ่นจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุง รณรงค์กำจัด ลูกน้ำยุงลาย จัดซื้อเครื่องข
    - กิจกรรมที่3 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคที่มาจากน้ำท่วม
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 85600  คน
    ประชาชนในเขตเทศบาลนครรังสิต
   กิจกรรม : 6. อื่นๆ (ระบุ) ให้ความรู้/ควบคุมโรค
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       6. อื่นๆ (ระบุ)
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาโรคติดต่อเรื้อรัง

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2565 สิ้นสุด 15 กันยายน 2566

8. สถานที่ดำเนินการ ในเขตเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 996,200.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกใน บ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุข
- ค่าสารยับยั้งการลอกคราบลูกน้ำยุง จำนวน 136 ขวด ๆ ละ 3300 บาท เป็นเงิน 448,800.00 บาท
- ค่าทรายทีมีฟอส จำนวน 45 ลังๆบรรจุ 500 ซองลังละ 3,000 บาท เป็นเงิน 135,000.00 บาท
- ค่าน้ำยาเคมีกำจัดแมลงและพาหะนำโรค 50 ขวดๆละ 2,700 บาท เป็นเงิน 135,000.00 บาท
- ค่าป้ายไวนิล 1.5*2 เมตร จำนวน 2 ผืนๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200.00 บาท
- แผ่นพับแบบสีใช้ในการรณรงค์ แผ่นละ 8 บาท เป็นเงิน 8,000.00 บาท
- ค่าเครื่องขยายเสียงติดรถประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 35,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 763,000.00 บาท
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมป้องกันโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรคติดต่อตามฤดูกาล
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย, ถุงมือตรวจโรค ฯลฯ เป็นเงิน 35,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาดำเนินการ (กระดาษ A4,สติ๊กเกอร์กระดาษขาวด้าน ฯลฯ) เป็นเงิน 6,200.00 บาท
- ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ป้ายไวนิล ฯลฯ เป็นเงิน 30,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 71,200.00 บาท
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วม
- ยาและเวชภัณฑ์ เป็นเงิน 150,000.00 บาท
- หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 100 กล่อง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 12,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 162,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 996,200.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยได้รับการสอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคตามมาตรฐานงานป้องกัน และควบคุมโรค
    2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด สถานบริการสาธารณสุข ไม่มีภาชนะที่พบลูกน้ำ ยุงลาย ( CI = 0 )
    3. ชุมชน มีจำนวนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำยุงลายได้ไม่เกินร้อยละ 10 ( HI ≤ 10 )
    4. ร้อยละ 80 ของบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานควบคุมโรคมีอุปกรณ์ในการป้องกันส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางสาวศุภดามาศ จันทาธอน หน่วยงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ร.ต.อ. ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต