ภาพกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุหมู่ 1 ปี งบประมาณ 2562


การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรโครงสร้างทางอายุของประชากรแสดงด้วยสัดส่วนของประชากรในวัยต่างๆ เมื่อจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน(อายุ 15-59 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเห็นได้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2553 –พ.ศ.2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก และวัยแรงงาน มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่สัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 13.2 ในพ.ศ.2553 เป็นร้อยละ 32.1 ในพ.ศ.2583 และที่น่าสังเกต คือ ในปีพ.ศ.2560 จะเป็นปีที่คาดว่าสัดส่วนของประชากรวัยเด็กจะเท่ากันกับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553 – พ.ศ.2583พบว่า สัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุนี้ จะสะท้อนถึงการนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ สำหรับแนวโน้มประชากรสูงอายุไทยจะอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองเพิ่มขึ้นโดยในปี 2553 มีประชากรสูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจำนวน 3.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 เพิ่มขึ้นเป็น11.6 ล้านคน หรือร้อยละ 59.8 ในปี 2583 ทั้งนี้ เนื่องมาจากแนวโน้มการเติบโตของประชากรเมืองในประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ชมรมผู้สูงอายุหมู่ 1 เทศบาลนครรังสิต เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ ช่วงวัยพึ่งพิง ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ในกลุ่มสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุหมู่1 ปีงบประมาณ 2562 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุหมู่ 1 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจเป็นสุข มีคุณค่าในสังคม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต