ภาพกิจกรรม พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care giver)


ปัจจุบันประชากรไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้นทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 13.2 ใน พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 32.1 ใน พ.ศ. 2583 ในปี พ.ศ. 2560 จะเป็นปีที่สัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ สัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายจะเพิ่มจากประมาณร้อยละ 12.7 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรสูงอายุ ข้อมูลจากงานทะเบียนราษฏรเดือนมีนาคม 2557 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9,923 คน คิดเป็นร้อยละ 12.77 ของประชากรทั้งหมด 77,681 คน การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดปัญหาปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เน้นการดูแลที่ใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานหลัก ในส่วนของสถานบริการดูแลผู้สูงอายุต้องมีทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนโดยอาศัยชุมชนชนและสังคมในการดูแลช่วยเหลือ การดูแลระยะยาวนั้นสามารถจัดได้ที่บ้าน หากผู้สูงอายุมีครอบครัวและมีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแล แต่หากผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแล คงจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐในการเตรียมสถานบริการและจัดบริการไว้รองรับ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น เทศบาลนครรังสิตมีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อยจำนวนหนึ่ง และบางส่วนญาติไม่มีเวลาคอยดูแลตลอดต้องอาศัยเพื่อนบ้านให้ความดูแลช่วยเหลือ และบางส่วนมีปัญหาใครอบครัว ส่งผลให้เกิดปัญหาในสังคมขึ้น ดังนั้นการเพิ่มทักษะการดูแลผู้สูงอายุของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care giver) จึงมีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลช่วยเหลือ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต