ภาพกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ ปี 2564


ในปัจจุบันประเทศไทยของเราเริ่มเดินหน้าเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุตามหลังประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศทางยุโรป นับจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉลี่ยแล้วทุกปี ประเทศไทยเราจะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1 แสน คน โดยที่นับที่เกณฑ์อายุเริ่มต้นที่ 65 ปี เป็นต้นไป ระบบทางสาธารณสุขของไทยได้ตระหนกถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้จัดเตรียมแผน และโครงการต่าง ๆ รองรับผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้สูงอายุเหล่านั้น เช่นกันในทางทันตกรรม หรือทางทันตสาธารณสุขเราก็มีมาตราการหรือโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับเช่นกัน เนื่องจากผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในข่องปากเพียงอย่างเดียว แต่ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ร่วมด้วยเป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาทางสุขภาพใดๆ แต่ผู้สูงอายุก็มีความเสื่อมถอยของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมทั้งเนื้อเยื่อกระดูกและฟัน และอวัยวะที่รองรับฟัน ต่อมน้ำลาย และเยื่อเมือกต่างๆ ในช่องปาก เป็นต้น เหล่านี้ ย่อมทำให้ผู้สูงอายุ เกิดโรคและปัญหาต่าง ๆ ในช่องปากได้ง่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น ปัญหาสุขภาพช่องปากหลักๆ 7 ประการ ได้แก่ ฟันผุและรากฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ ฟันสึก น้ำลายแห้ง การสูญเสียฟันและปัญหาจากการใส่ฟันปลอม มีแผลหรือรอยโรคมะเร็งในช่องปาก และปัญหาเรื่องระบบการบดเคี้ยว ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องมาพบทันตแพทย์ การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปากและฟันที่สะอาดจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบาย ไม่เจ็บปวด กินอาหารได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยเฉพาะปัญหาปอดติดเชื้อจากการสำลักซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น การดูแลช่องปากอย่างดีจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อาจมีอาการกลืนลำบากหรือสำลักง่าย ต้องให้อาหารทางสายยางหรือใส่ท่อช่วยหายใจ ปากแห้ง มีแผลในปาก การทำความสะอาดปากและฟันจึงต้องอาศัยเทคนิค หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดปากและฟันของผู้สูงอายุทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ดังนั้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและญาติได้มีทักษะในการดูแลทันตสุขภาพ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจาก เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขและหาก ตรวจพบว่าสุขภาพช่องปากที่มีปัญหา ที่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมารักษาต่อที่โรงพยาบาลเพื่อเป็นการดูแลตามขั้นตอนการรักษาของงานทันตแพทย์นั้น ก็จะดำเนินการได้ทันท่วงที
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต