ภาพกิจกรรม พัฒนาเครือข่ายรากฟันเทียมพระราชทาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และโรคมะเร็งช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้า เครือข่ายหน่วยบริการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์และเทศบาลนครรังสิต ร่วมกับสถาบันทันตกรรม


ปัจจุบันความสำเร็จของการทดแทนช่องว่างของฟันด้วยการใส่รากฟันเทียมแบบใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมในการวางแผนออกแบบใปจนถึงการใส่ฟันทดแทนแบบทันทีนั้นมีอัตราความสำเร็จสูงถึง ๙๗ – ๙๙ เปอร์เซ็นต์ 1ดังนั้นความต้องการของประชากรผู้สูงอายุต่อการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมในกรณีฟันปลอมทังปากแบบถอดได้ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติในคลินิกทันตกรรมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในการทำรากฟันเทียมมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดพลาดซึ่งจะส่งผลต่อการดูแลรักษาและการคงอยู่ของรากเทียมบนฟันปลอมทังปากแบบถอดได้ ตำแหน่งของรากเทียมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลและความคงอยู่ของรากเทียมภายหลังการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในงานบูรณะฟัน รากเทียมก็เช่นเดียวกัน การวางแผนการรักษาด้วยงานทันตกรรมรากเทียม ต้องคำนึงถึงโครงสร้างของฟันและขากรรไกรในสามมิติ เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์แบบสามมิติจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวด ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และโรคมะเร็งช่องปาก ขากรรกรและใบหน้า การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเครื่องถ่ายภาพรังสีสามมิติมีส่วนช่วยทันตแพทย์อย่างมากทั้งในขั้นตอนการวางแผน และเป็นแนวนำทางในการใส่รากเทียมให้มีความแม่นยำ ปลอดภัยรวมถึงลดระยะเวลาในการทำการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมส่งผลต่อการหายของแผลผ่าตัด ความพึงพอใจ
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต