ภาพกิจกรรม สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ นครรังสิต ปี 2560


เทศบาลนครรังสิตมีสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมที่เป็นลักษณะของสังคมเมือง มีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น ทำให้การเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ ยังไม่ครอบคลุม และขาดการสำรวจข้อมูลที่ครบถ้วนทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นการวางแผนพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการบูรณาการด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมเข้าด้วยกัน โดยภาครัฐต้องจัดเตรียมระบบสวัสดิการสังคม ระบบการบริการสุขภาพแบบมีขั้นตอน เพื่อรองรับกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ข้อมูลจากงานทะเบียนราษฏรเดือนมีนาคม 2559 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11,291 คน คิดเป็นร้อยละ 14.06 ของประชากรทั้งหมด 80,295 คน และมีนาคม 2557 มีการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครรังสิต จำนวน 4,384 คน พบว่ามีผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 1 ( กลุ่มติดสังคม ) สามารถช่วยเหลือตนเองได้และดำเนินชีวิตในสังคมได้เองจำนวน 3,760 คน กลุ่มที่ 2 (กลุ่มติดบ้าน) สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือต้องการความช่วยเหลือบางส่วนจำนวน 413 คน และกลุ่มที่ 3 (กลุ่มติดเตียง) มีต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันและการเคลื่อนย้ายร่างกาย จำนวน 211 คน จะเห็นว่ามีผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพจำนวนไม่น้อย การวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมในทุกด้าน เป็นประจำทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อวางแผนการดูแลทั้งด้านสุขภาพ สังคม และ เศรษฐกิจ รวมทั้งเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ผู้สูงอายุและผู้พิการในอนาคตเพื่อให้การช่วยเหลือดูแลอย่างเหมาะสม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบานนครรังสิต เห็นความสำคัญของการพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ จึงจัดทำโครงการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ นครรังสิต ปี 2560 เพื่อวางแผนการดูแลทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ผู้สูงอายุและผู้พิการในอนาคตในการช่วยเหลือดูแลอย่างเหมาะสม
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต