ภาพกิจกรรม สร้างเสริมสมรรถภาพผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในชุมชนตำบลประชาธิปัตย์


ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ภาวะประชากรผู้สูงอายุอัตราเพิ่มของประชากรรวมอยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆใน ขณะที่อัตราการเพิ่มของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการที่วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมลงทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจและสังคม ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ใช้บริการด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการให้ความรู้ ข้อมูล คำแนะนำ ตลอดจนการดำเนินงาน ด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคอื่นๆ เน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ลดการเจ็บป่วย ลดภาระโรค ลดการพึ่งพิง และสามารถดูแลตนเอง ได้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาว และมีภาวะสุขภาพที่ดีได้ จากปี 2549 -2559 เป็นต้นมา มีผู้ สูงอายุให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีสุขภาพกายที่ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถควบคุมน้ำหนัก วัดรอบเอว ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับที่ดีไม่เพิ่มขึ้น รวมถึงสุขภาพ จิตที่ดีโดยประเมินจาก การเข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องทุกเดือน สมำเสมออย่างมีความสุข ได้รับการดูแล การมีส่วนร่วม จากครอบครัวและสังคมมากขึ้น - จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุ ตรวจสุขภาพ คัดกรองความเสี่ยงสุขภาพทุกครั้งก่อนเข้ากลุ่ม เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดรอบเอว หาค่าดัชนีมวลกาย ตรวจฟัน ประเมินสุขภาพจิต ในผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุโรคเบาหวานจะได้รับการตรวจ A1C ปีละ 2 ครั้ง - ผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุโรคมะเร็งจะได้รับการประเมินสุขภาพจิต ทุก 2 เดือน - ผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุความดันโลหิตสูงจะได้รับการคัดกรอง Stroke ทุก 2 เดือน - ให้ความรู้ / ทักษะเรื่องโรคต่างๆที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ( โดยมีการเชิญ จิตแพทย์ แพทย์ทั่วไป เภสัชกร นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย ทันตแพทย์ นักพฤติกรรมบำบัด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ การปฏิบัติตัวต่อโรคที่เป็นอยู่ สลับ หมุนเวียนในแต่ละครั้ง ) พร้อมฝึกปฏิบัติ อย่างเช่น การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพแบบฉุกเฉิน การบริหารเหงือกและฟัน การกินยา/พ่นยาอย่างถูกวิธี เป็นต้น - ออกกำลังกายที่เหมาะสม ทำสมาธิ สวดมนต์ ดนตรีบำบัด - กิจกรรมสันทนาการบำบัด และจัดงานวันเกิดให้กับผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุ เพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจมีคุณค่าในตัวเอง ส่งผลต่อสุขภาพจิต - สืบสานประเพณีวัฒนธรรมตามเทศกาลเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว เช่น วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ และมีการประเมินสุขภาพจิต ประเมินความสุข ทุก 2 เดือน (จากแบบประเมินของกรมสุขภาพจิต ) - จัดกลุ่ม Self health group แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งในเรื่องของความรู้การเป็นโรค การปฎิบัติตัวที่ถูกต้อง เหมาะสม เพิ่มความตระหนักและปรับทํศนคติที่ดีต่อการเป็นโรคและการดูแลตัวเอง - รวมกลุ่มทำกิจกรรม เช่น สอน /สาธิตการทำดอกไม้ เพื่อผ่อนคลายความเครียด และพบปะทำกิจกรรมร่วมกัน ตลอดจนการช่วยเหลือกลุ่มในขณะอยู่ร่วมกัน - ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังผู้สูงอายุโดยกลุ่มสมาชิก เพื่อนช่วยเพื่อนและให้ชุมชนมีส่วนร่วม รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต