โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ ป้องกันก่อนแก้ไข รักปลอดภัยในวัยรุ่น

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายและทั่วถึง ทำให้การติดต่อสื่อสารและการนัดพบเจอกันเป็นเรื่องปกติทั่วไปของวัยรุ่นที่ติดต่อสื่อการกันผ่านโลกออนไลน์ เริ่มพัฒนาความสัมพันธ์จากเพื่อน สู่คู่รักวัยเรียน ซึ่งวัยรุ่นถือได้ว่าเป็นวัยกำลังเรียนรู้ ยากรู้และอยากลอง เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการก้าวข้ามจากเด็กเยาวชนสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น การเรียนรู้ระหว่างช่วงวัยอาจทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ และผู้ปกครองไม่สามารถห้ามหรือติดตามพฤติกรรมของวัยรุ่นได้ตลอดเวลา ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างและระยะยาว ทั้งต่อสภาพจิตใจของแม่และเด็ก และบุคคลรอบข้าง นำมาสู่การออกจากการศึกษากลางคันของพ่อและแม่เด็ก การคลอดแล้วนำบุตรไปทิ้ง และอื่น ๆ ทั้งนี้ในสังคมไทย มักเกิดผลกระทบในการรับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิตจึงตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น จึงจัดทำโครงการป้องกันก่อนแก้ไข รักปลอดภัยในวัยรุ่น ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาโดยมุ่งไปที่ตนเอง ให้มีความรับผิดชอบในการป้องกันและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยทั้งจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนการเพิ่มทักษะชีวิตแบบรอบด้าน ในการปฏิเสธ การสื่อสาร หรือการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ล่อแหลม และการทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์ เพื่อให้วัยรุ่นทุกคนก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างภาคภูมิ

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงปัญหาของการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นและอันตรายจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    4.2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    4.3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดประชุมคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิตเพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินโครงการ
    - จัดหากลุ่มวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านเพศศึกษา
   ขั้นดำเนินการ
    - ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
    - ประสานวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านเพศศึกษา
    - จัดอบรมให้ความรู้ด้านเพศศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 100  คน
    เด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลนครรังสิต ที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน
   กิจกรรม : 7. การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.5 กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น[ข้อ 10(2)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       7. การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาสุขภาพอื่น

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2566 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2566

8. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 อาคารสำนักงานเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 29,460.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 100 คน ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 7,500.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500.00 บาท
- ค่าวิทยากรกลุ่มภาคเอกชน 2 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1200 บาท เป็นเงิน 14,400.00 บาท
- ค่ากระดาษ A4 จำนวน 5 รีม ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ปากกาเคมีสีน้ำเงิน 3 กล่อง ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 720.00 บาท
- ปากกาเคมีสีดำ 3 กล่อง ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 720.00 บาท
- ปากกาเคมีสีแดง 3 กล่อง ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 720.00 บาท
- กระดาษฟลิปชาร์ท70แกรม ขนาด80x100ซม. 2 ม้วน ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500.00 บาท
- ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน 2 กล่อง ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 800.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 29,460.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 90 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดมากขึ้น

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า น.ส.ภูริชญา แดงสุวรรณ หน่วยงาน สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายเนติธร กอผจญ ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ประธานสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต