โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ เฝ้าระวังและป้องกันโรคเหา

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงเรียนนครรังสิตรัตนโกสินทร์

3.หลักการเหตุผล
     การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียน ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ โรงเรียนจึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในเด็กนักเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเหาขึ้น เพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยการป้องกันโรคเหา และลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเหาในเด็กนักเรียน

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ประชุมวางแผนดำเนินงาน
    - แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
    - เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
   ขั้นดำเนินการ
    - ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงกิจกรรมและขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
    - สำรวจนักเรียนในแต่ละห้องที่เป็นโรคเหา
    - แนะนำผู้ปกครองเรื่องการดูแลสุขอนามัย และการกำจัดเหา พร้อมกับให้แชมพูกำจัดเหากับผู้ปกครองคนละ1ซอง/15วัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 18  คน
    นักเรียนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯ
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.4 หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น[ข้อ 10(2)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาโรคติดต่อเรื้อรัง

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 19 มิถุนายน 2566 สิ้นสุด 8 กันยายน 2566

8. สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนนครรังสิต รัตนโกสินทร์

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 3,024.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าแชมพูกำจัดเหา ขนาด20 มล. จำนวน 18 คน (6ซอง/คน/3เดือน) จำนวน 108 ซอง ๆ ละ 28 บาท เป็นเงิน 3,024.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,024.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ70ของกลุ่มเป้าหมาย ไม่กลับมาเป็นโรคเหาซ้ำภายใน 3 เดือน

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางชญานี ชูแก้ว หน่วยงาน โรงเรียนนครรังสิตรัตนโกสินทร์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางเจริญศรี บุญสุกล ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการสถานศึกษา

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต