โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น “ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง”

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

3.หลักการเหตุผล
     จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2564 มีประชากรอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น (อายุ 13-15 ปี) ประมาณ 2,373,447 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.57 ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุขภาพทั่วไปดี แต่ต้องให้ความสำคัญเพราะเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่างซึ่งจะส่งผลต่อตนเอง ลูกและการเป็นโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ไปจนถึงสูงอายุ เช่น การบริโภคแอลกอฮอล์ ยาสูบ ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคที่ไม่เหมาะสม การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน รวมทั้งความรุนแรงแบบต่าง ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่จึงมักมีปัญหาเรื่องการปรับตัว เกิดความเครียดอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและสุขภาพจิต การพัฒนาทักษะชีวิตและการช่วยเหลือสนับสนุนด้านสังคมจิตวิทยาเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นกลุ่มที่มีการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มประชากรอื่น ๆ โรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขสองอันดับแรกในวัยรุ่นตอนต้นได้แก่โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ จากรายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติที่ทำการสำรวจทุก 5 ปี ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่าเด็กอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 66.7 ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.4 ซี่/คน เป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 31.5 มีฟันอุดร้อยละ 31.1 และมีการสูญเสียฟัน ร้อยละ 3.0 ในกลุ่มอายุ 15 ปี มีความชุกของโรคฟันผุร้อยละ 62.7 วัยรุ่นที่ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) คิดเป็นร้อยละ 55.7 มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 40.1 มีฟันอุดร้อยละ 39.0 และมีฟันถอนร้อยละ 7.1 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) 2 ซี่/คน โดยเป็นฟันผุไม่ได้รับการรักษา 0.9 ซี่/คน ฟันถอน 0.1 ซี่/คน ฟันอุด 1 ซี่/คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น นอกจากนี้จากการสำรวจพฤติกรรมพึงประสงค์ด้านทันตสุขภาพในปี 2559-2560 พบว่าวัยรุ่นมากกว่าร้อยละ 85 แปรงฟันก่อนนอน ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างต้องการขูดหินปูน และทำให้ฟันขาว (ร้อยละ 42.7, 51.0) ต้องการจัดฟัน (ร้อยละ 33.4, 49.0) แสดงว่ากลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังแปรงฟันไม่มีประสิทธิภาพ มีความรู้เข้าใจเรื่องบริการทันตกรรมน้อย และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทันตสุขภาพที่ยังไม่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้กลุ่มวัยรุ่นตอนต้นอายุ 11-15 ปี ถือเป็นกลุ่มสำคัญทางระบาดวิทยาเนื่องจากเป็นอายุที่มีฟันแท้ขึ้นครบ 28 ซี่ในช่องปากซึ่งสภาวะสุขภาพช่องปากในวัยนี้ จะใช้เพื่อทำนายแนวโน้มการเกิดโรคในช่องปากในวัยผู้ใหญ่ได้ ทั้งนี้กลุ่มวัยรุ่นตอนต้นถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ เนื่องจากในช่วงวัยนี้ รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะดูแลเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพชัดเจนเหมือนในกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาทำให้ในวัยดังกล่าวไม่ได้รับการดูแลจากโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขของภาครัฐ โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมนักเรียนชั้นมัธยม “ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง” ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของเยาวชนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนหาแนวทาง การจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก การฝึกอบรมและพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นในวงกว้างและระยะยาวต่อไป โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธีและสะอาดอย่างต่อเนื่องโดยพัฒนาประสิทธิภาพการแปรงฟันและได้รับคำแนะนำการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคในกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อช่วยให้ประชาชนมีทันตสุขภาพที่ดีตั้งแต่เยาว์วัย และมีทันตสุขนิสัยที่ดีสืบต่อไป

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ดี โดยการเรียนรู้วิธีการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกต้องและสะอาดตามเกณฑ์สากล เพื่อส่งผลให้มี “ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง”
    4.2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกต้องและสะอาดอย่างง่ายๆ โดยใช้สีย้อมฟันเป็นองค์ประกอบในการตรวจสอบ
    4.3 เพื่อสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาสการศึกษา) ในเขตเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - 2.1.1จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
    - 2.1.2ประสานงานกับโรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาสการศึกษา) ในเขตเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
    - 2.1.3จัดเตรียมสิ่งสนับสนุน ได้แก่ แบบตรวจสุขภาพช่องปาก แผ่นพับ หรือสื่อการสอนให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษา ชุดสาธิตการทำความสะอาดช่องปาก (กระเป๋าพร้อมสายห้อยคอ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไหมขัดฟัน) อุปกรณ์ย้อมสีฟัน (น้ำยาย้อมสีฟัน สำลีพันก้าน กระจกเงาบานเล็ก แก้
   ขั้นดำเนินการ
    - 2.2.1 ออกปฏิบัติงานในเขตเทศบาลนครรังสิต 8 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสายปัญญารังสิต โรงเรียนธัญบุรี โรงเรียนวัดแสงสรรค์ โรงเรียนอุดมวิทยา โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต โรงเรียนทิพพากรวิทยาการ และโรงเรียนมัธยมนครรังสิต
    - 2.2.2 จัดกิจกรรมรณรงค์ “ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง” โดยฝึกทักษะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน ควบคุมคราบจุลินทรีย์ พร้อมสนับสนุนแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไหมขัดฟันในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1
    - 2.2.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ การดูแลสุขภาพฟัน และการเลือกบริโภคให้เหมาะสม
    - 2.2.2.2 สาธิต สอนการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน ย้อมสีฟันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟันที่ถูกวิธี
    - 2.2.2.3 กระตุ้นให้โรงเรียนจัดกิจกรรม “ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง” อย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกทักษะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีและทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน
    - 2.2.3 จัดกิจกรรมสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น โดยตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากกับเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสภาวะช่องปาก แจ้งข้อมูลสภาวะช่องปากให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียนทราบ บันทึกข
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 1550  คน
    เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1,550 คนในโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาสการศึกษา) ในเขตเทศบาลนครรังสิต 8 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสายปัญญารังสิต โรงเรียนธัญบุรี โรงเรียนวัดแสงสรรค์ โรงเรียนอุดมวิทยา โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต โรงเรียนทิพพากรวิทยาการ และโรงเรียนมัธยมนครรังสิต
   กิจกรรม : 1. การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.1 หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       1. การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ
   แผนสุขภาพ
       ปัญหาสุขภาพอื่น

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 สิ้นสุด 15 กันยายน 2566

8. สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนที่มีการสอนระดับมัธยมศึกษา 8 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสายปัญญารังสิต โรงเรียนธัญบุรี โรงเรียนวัดแสงสรรค์ โรงเรียนอุดมวิทยา โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต โรงเรียนทิพพากรวิทยาการ และโรงเรียนมัธยมนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 178,700.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าน้ำยาย้อมสีฟัน จำนวน 40 ขวดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000.00 บาท
- ค่ากระจกเงาบานเล็ก จำนวน 30 อัน ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าอุปกรณ์ย้อมสีฟัน สำลีพันก้าน 15 ห่อ ๆละ 30 บาท เป็นเงิน 450.00 บาท
- ค่าอุปกรณ์ย้อมสีฟัน แก้วน้ำบ้วนปาก 30 แพ็ค ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500.00 บาท
- ค่าอุปกรณ์สาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันในเด็กมัธยม (แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไหมขัดฟัน กระเป๋าใส่อุปกรณ์สาธิต) จำนวน 1,550 ชุดๆละ 113 บาท เป็นเงิน 175,150.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 178,700.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ความรู้ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก
    2. ร้อยละ 60 ของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 แปรงฟันสะอาด

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางศิริวรรณ เทพชุม หน่วยงาน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายรังสรรค์ บุตรชา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต