โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ การดูแลกลุ่มเปราะบางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

3.หลักการเหตุผล
     ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ต่อยาเสพติด ทั้งเชิงป้องกันและแก้ไขในรูปแบบราษฎร์ - รัฐร่วมใจ เป็น “ภาระร่วม” ระหว่างภาครัฐและท้องถิ่นชุมชนในการป้องกัน เฝ้าระวัง บำบัดแก้ไข และฟื้นฟูดูแลสงเคราะห์ผู้มีปัญหายาเสพติดอย่างเป็นองค์รวมทั้งกาย - จิต - สังคม ในมุมมองที่เปลี่ยนจากผู้เสพเป็นอาชญากรสู่ผู้เสพเป็นผู้ป่วย การเสพ/ติดยาเสพติดนั้น รักษาได้แต่ต้องใช้เวลา โดยเฉพาะรูปแบบการบำบัดรักษาที่ใกล้บ้านในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมนั้น ให้ผลคุ้มค่าที่สุด การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ต้องอาศัยปัญหาสุขภาพเป็นตัวนำสุขภาพ ซึ่งเป็นบริการที่ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้ความสำคัญต่อการสร้างหน่วยบริการระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็ง มีระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพจากหน่วยบริการที่อยู่สูงขึ้นไป ซึ่งการบริการระดับปฐมภูมิ เป็นบริการที่มุ้งเน้นบริการบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยบูรณาการความรู้ทางด้านสุขภาพเข้ากับมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ป่วย ให้บริการแบบผสมผสาน ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการเป็นองค์รวม เชื่อมโยงใกล้ชิดระหว่างผู้ให้บริการสถานบริการ ชุมชน และครอบครัว มีความเชื่อมโยงกับระบบบริการสาธารณสุขระดับอื่นๆ และกับชุมชนเพื่อส่งต่อความรับผิดชอบการให้บริการระหว่างกันและกัน รวมถึงมีการขับเคลื่อน โดยมีแผนการจัดระบบบริการสุขภาพ ในรูปแบบของการพัฒนาระบบบริการที่เชื่อมโยงตั้งแต่ระบบบริการระดับปฐมภูมิทุติยภูมิตติยภูมิจนถึงศูนย์เชี่ยวชาญระดับสูงและการพัฒนาระบบส่งต่อเครือข่ายเพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนได้เบ็ดเสร็จภายในเครือข่าย สร้างการเข้าถึงบริการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ให้กับเครือข่ายการทำงานด้านบำบัดยาเสพติดจึงจัดทำโครงการ การดูแลกลุ่มเปราะบาง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต( community-based treatment ) ที่เป็นมาตรการสากลที่มุ่งเน้นการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการร่วมใช้ทรัพยากรในชุมชน กับองค์ความรู้ทางสาธารณสุขมาดูแลจัดการแก้ไขปัญหาจากยาเสพติดตามบริบทของพื้นที่ การเสริมพลังในชุมชนด้วยมาตรการดังกล่าวก่อให้เกิดรูปแบบการดูแลผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในชุมชนที่มีการบูรณาการระหว่างระบบบริการสุขภาพภาครัฐและระบบบริการทางสังคมที่มีอยู่ ด้วยความร่วมมือระหว่างชุมชน

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลโดยกลุ่มคนในชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต
    4.2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางสามารถดำรงชีพอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - กิจกรรมที่ 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของชุมชน และลงพื้นที่สำรวจชุมชนเพื่อร่วมทำ AIC (2วัน)
   ขั้นดำเนินการ
    - กิจกรรมที่ 2. อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชุมชน และฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้อง
    - กิจกรรมที่ 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม
    - กิจกรรมที่ 4.พัฒนาการค้นหา คัดกรอง บำบัด และการติดตามในชุมชน (เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 3 เดือน รวม 6 ครั้ง)
    - กิจกรรมที่ 5.สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 230  คน
     บุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชุมชน 120 คน ประชาชน 110 คน
   กิจกรรม : 2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.3 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   แผนสุขภาพ
       ปัญหายาเสพติด

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2565 สิ้นสุด 15 กันยายน 2566

8. สถานที่ดำเนินการ

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 98,600.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
1. ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของชุมชน และลงพื้นที่สำรวจชุมชนเพื่อร่วมทำ AIC (2วัน)
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมประชุม 60คนๆละ75บาทx2วัน เป็นเงิน 9,000.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60คนๆละ35บาทx2มื้อx2วัน เป็นเงิน 8,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 17,400.00 บาท
2.อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชุมชน และฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้อง (2วัน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30คนๆละ 35บาทx2มื้อx2วัน เป็นเงิน 4,200.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วมประชุม 30คนๆละ75บาทx2วัน เป็นเงิน 4,500.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ (600บาทx1ช.ม.) เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 15,300.00 บาท
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60คนๆละ35บาทx2มื้อ เป็นเงิน 4,200.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60คนๆละ75บาท เป็นเงิน 4,500.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาครัฐ (600บาทx1ช.ม.) เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มภาครัฐ (600บาทx5ช.ม.x2คน) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- ค่าพาหนะวิทยากร(ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเดินทางจากรังสิต ถึงอ.ไชโย จ.อ่างทอง 100 กิโลเมตร ไป-กลับ 200 กิโลเมตร x 4 บาท x 2 คน ) เป็นเงิน 1,600.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ60คนx50บาท เป็นเงิน 3,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 19,900.00 บาท
4.พัฒนาการค้นหา คัดกรอง บำบัด และการติดตามให้ความรู้ในชุมชน (เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 3 เดือน รวม 6 ครั้ง)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ35บาทx2มื้อx6วัน เป็นเงิน 21,000.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 50คนๆละ75บาทx6วัน เป็นเงิน 22,500.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 50คนx50บาท เป็นเงิน 2,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 46,000.00 บาท
5.ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
รวมเป็นเงิน 0.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 98,600.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 60 ของประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต
    2. ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุข แกนนำชุมชน ครอบครัว ประชาชน ได้รับความรู้ ทักษะ การคัดกรอง บำบัดและติดตามในชุมชน

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางลัดดา ขอบทอง หน่วยงาน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายสรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันฯ

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต