โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ การดูแลกลุ่มเปราะบางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

3.หลักการเหตุผล
    

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลโดยกลุ่มคนในชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต
    4.2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางสามารถดำรงชีพอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของชุมชน และลงพื้นที่สำรวจชุมชนเพื่อร่วมทำ AIC (2วัน)
   ขั้นดำเนินการ
    
    - อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชุมชน และฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้อง
    - แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม
    - พัฒนาการค้นหา คัดกรอง บำบัด และการติดตามในชุมชน (เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 3 เดือน รวม 6 ครั้ง)
    - สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 170  คน
    บุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชุมชน 120 คน ประชาชน 50 คน
   กิจกรรม : 2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.3 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 สิ้นสุด 30 สิงหาคม 2565

8. สถานที่ดำเนินการ พื้นที่เขตเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 113,350.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
1ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของชุมชน และลงพื้นที่สำรวจชุมชนเพื่อร่วมทำ AIC (2วัน) .
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม60คนๆละ85บาทx2วัน เป็นเงิน 10,200.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนๆละ 35บาทx2มื้อx2วัน เป็นเงิน 8,400.00 บาท
- ค่าชุดตรวจATK เป็นเงิน 3,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น สมุด,ปากกา เป็นเงิน 3,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 24,600.00 บาท
2.อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชุมชน และฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้อง(2วัน)
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น สมุด,ปากกา เป็นเงิน 1,500.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (85 บาท x30 คน x 2วัน) เป็นเงิน 5,100.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ35บาทจำนวน2มื้อx2วัน เป็นเงิน 4,200.00 บาท
รวมเป็นเงิน 10,800.00 บาท
3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม(1วัน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ35บาทจำนวน2มื้อ เป็นเงิน 2,100.00 บาท
- ค่าชุดตรวจATK เป็นเงิน 1,500.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (85 บาท x30 คน ) เป็นเงิน 2,550.00 บาท
- ค่าวิทยากรบรรยายภาครัฐ ( 1 ชม. x 60๐ บาท x 1 คน) เป็นเงิน 600.00 บาท
- ค่าวิทยากรกลุ่มภาครัฐ ( 5 ชม. x 60๐ บาท x 2 คน x 1 วัน ) เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- ค่าพาหนะวิทยากร(ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเดินทางจากรังสิต ถึงอ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 150 กิโลเมตร ไป-กลับ 300 กิโลเมตร x 4 บาท x 2 คน ) เป็นเงิน 2,400.00 บาท
รวมเป็นเงิน 15,150.00 บาท
4.พัฒนาการค้นหา คัดกรอง บำบัด และการติดตามให้ความรู้ในชุมชน (เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 3 เดือน รวม 6 ครั้ง)
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (85 บาท x50 คน x 6ครั้ง) เป็นเงิน 25,500.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ35บาทจำนวน2มื้อx6ครั้ง เป็นเงิน 21,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น สมุด,ปากกา เป็นเงิน 2,500.00 บาท
- ค่าชุดตรวจATK เป็นเงิน 2,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 51,500.00 บาท
5.ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน(2วัน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ35บาทจำนวน2มื้อx2วัน เป็นเงิน 4,200.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (85 บาท x30 คน x 2วัน) เป็นเงิน 5,100.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น สมุด,ปากกา เป็นเงิน 1,000.00 บาท
- ค่าชุดตรวจATK เป็นเงิน 1,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 11,300.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 113,350.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 60 ของประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลนครรังสิต
    2. ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุข แกนนำชุมชน ครอบครัว ประชาชน ได้รับความรู้ ทักษะ การคัดกรอง บำบัดและติดตามในชุมชน

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า  หน่วยงาน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางลัดดา ขอบทอง ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันฯ

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต