โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านอาหาร

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน เทศบาลนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     เทศบาลนครรังสิต มีหน้าที่รับผิดชอบ กำกับ ดูแลสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ทั้งร้านจำหน่ายอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อควบคุมสุขลักษณะของสถานที่สำหรับรับประทานอาหาร สถานที่ปรุงประกอบอาหาร การจำหน่าย การจัดการของเสียจากการประกอบการและรวมถึงสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหารให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เทศบัญญัติฯ เรื่อง จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2552 เทศบัญญัติเรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2556 และมาตรฐานด้านการสุขาภิบาลอาหารความรู้ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อันจะส่งผลให้อาหารมีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค การพัฒนาศักยภาพโดยการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการด้านจำหน่ายอาหาร ทั้งผู้ประกอบการร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผู้สัมผัสอาหารจึงต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือน ทบทวนความรู้ สร้างความตระหนักให้มีการควบคุมอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี สารพิษต่างๆ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยดังนั้น งานสุขาภิบาลสถานประกอบการฯ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครรังสิต จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านอาหารขึ้น

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
    4.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ผ่านเกณฑ์ประเมินความรู้ร้อยละ 8๐ ขึ้นไปของคะแนนเต็ม
    4.3 เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และยกระดับสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้มาตรฐานด้านการสุขาภิบาลอาหาร
    4.4 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ
    4.5 เพื่อเป็นการรับรองการผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ด้วยบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ประสานวิทยากร และกลุ่มเป้าหมายในการจัดการอบรม จำนวน 2 ครั้ง
    - บรรจุโครงการในแผนพัฒนาเทศบาลนครรังสิต
    - จัดทำโครงการเสนองบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
   ขั้นดำเนินการ
    - จัดการอบรมตามกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 100 คน และ ผู้ประกอบการค้าแผงลอยจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 100 คน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 200  คน
     1.3.1 ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 100 คน 1.3.2 ผู้ประกอบการค้าแผงลอยจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 100 คน
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 สิ้นสุด 15 สิงหาคม 2562

8. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 สำนักงานเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 123,700.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- - ค่าวัสดุที่ใช้ในโครงการ เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร สมุด ปากกา น้ำยาลบคำผิด กระดาษการ์ดแข็ง เป็นต้น เป็นเงิน 10,000.00 บาท
- - ค่าสมนาคุณวิทยากร บรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 จำนวน 2 วันๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากลุ่มฝึกปฎิบัติ จำนวน 2 กลุ่ม ๆ 2 คน จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 600 จำนวน 2 วันๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม แขกผู้มีเกียรติ วิทยากร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมจำนวน 200 คน เป็นเงิน 5,000.00 บาท
- - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วันๆ ละ 75 บาท รวมจำนวน 200 คน เป็นเงิน 15,000.00 บาท
- - ค่าจัดทำคู่มือผู้ประกอบการด้านอาหาร ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี 1 หน้า เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 4 สี 24 หน้า เข้าเล่มเย็บมุงหลังคา จำนวน 120 เล่มๆละ 240 บาท ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเงิน 30,816.00 บาท
- - ค่าจัดทำคู่มือผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 หน้า เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 4 สี 28 หน้า เข้าเล่มเย็บมุงหลังคา จำนวน 120 เล่ม ๆ ละ 260 บาท ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเงิน 33,384.00 บาท
- ค่าจัดทำสื่อการฝึกปฏิบัติด้านสุขาภิบาลอาหาร เช่น การเลือกซื้อภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องปรุง อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท เป็นเงิน 3,500.00 บาท
- - ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 200 ใบๆละ100 บาท ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเงิน 20,000.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 123,700.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า  หน่วยงาน เทศบาลนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นายไพบูรณ์ โพธิ์คำ ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต