โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

3.หลักการเหตุผล
     ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและพฤติกรรมมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของเชื้อโรค การใช้ยาไม่ถูกต้องเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม รวมทั้งผลจากเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของสัตว์นำโรคและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้โรคอุบัติใหม่ส่วนใหญ่มีธรรมชาติที่ซับซ้อนยากต่อการจัดการ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่,ไวรัสซิกา) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ฉี่หนู) การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และโรคอุบัติใหม่
    4.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค อย่างเป็นระบบ
    4.3 เพื่อสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - จัดประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางในการดำเนินงาน
    - ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน
    - การวางแผน มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
   ขั้นดำเนินการ
    - กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้าน วัด โรงเรียน
    - กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
    - กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก
    - กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วม
    - กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่่อนที่เร็ว ( Surveillance and Rapid Response Team : SRRT )
    - กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมประชุม แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา
    - กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และพระราชบัญญัติสาธารณสุขเรื่องเหตุรำคาญ
    - รายละเอียดแต่ละกิจกรรมมีการวางแผนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังนี้ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในแต่ละกิจกรรม จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายไวนิล สติกเกอร์ คู่มือ ฯลฯ จัดทำแผนพ่นหมอกควัน รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 84000  คน
    ประชาชนในเขตเทศบาลนครรังสิต
   กิจกรรม : 6. อื่นๆ (ระบุ) การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ และกิจกรรมเฝ้าระวังและควบคุมโรค
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       6. อื่นๆ (ระบุ)
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2562 สิ้นสุด 30 กันยายน 2562

8. สถานที่ดำเนินการ ในเขตเทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 1,091,700.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกใน บ้าน วัด โรงเรียน
- ค่าทรายทีมีฟอส จำนวน 20 ถัง ๆ ละ 3000 บาท เป็นเงิน 60,000.00 บาท
- ค่าน้ำยาเคมีกำจัดแมลงและพาหะนำโรค 70 ขวด ๆ ละ 1000 บาท เป็นเงิน 70,000.00 บาท
- ค่าเครื่องพ่นหมอกควัน 2 เครื่อง ๆ ละ 59000 บาท เป็นเงิน 118,000.00 บาท
- ค่าจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย 40 กระปุก ๆ ละ 5000 บาท เป็นเงิน 200,000.00 บาท
- สเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 ml 200 กระป๋อง ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000.00 บาท
- โลชั่นทากันยุง ขนาด 60 ml 200 ขวด ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 12,000.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน ๆ ละ 25 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,000.00 บาท
- สื่อประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ เป็นเงิน 50,000.00 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ เช่น กระดาษเอ 4 สติ๊กเกอร์กระดาษขาวด้าน เป็นเงิน 5,000.00 บาท
- หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองและสารเคมี (R95) เป็นเงิน 7,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 541,000.00 บาท
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธ์ุ 500 โด๊ส ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 200,000.00 บาท
- Alcohol Pad 10 กล่อง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000.00 บาท
- กล่องทิ้งเข็มฉีดยา 5 กล่อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 500.00 บาท
- Alcohol สำหรับล้างมือ 40 ขวด ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 10,000.00 บาท
- หน้ากากอนามัย 50 กล่อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000.00 บาท
- ถุงมือตรวจโรคไซค์ M 10 กล่อง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 220,500.00 บาท
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก
- เครื่องพ่นเคมีชนิดฝอยละออง 2 เครื่อง ๆ ละ 45000 เป็นเงิน 90,000.00 บาท
- น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ขนาด 1 ลิตร 4 ขวด ๆ ละ 4500 บาท เป็นเงิน 18,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 108,000.00 บาท
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วมและภัยพิบัติ
- ชุดยาและเวชภัณฑ์ 500 ชุด ๆ ละ 260 บาท เป็นเงิน 130,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 130,000.00 บาท
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่่อนที่เร็ว ( Surveillance and Rapid Response Team : SRRT )
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800.00 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000.00 บาท
- ค่าอาหารมื้อกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 4,500.00 บาท
- ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 เล่ม ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 15,900.00 บาท
กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมประชุม แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500.00 บาท
รวมเป็นเงิน 1,500.00 บาท
กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และพระราชบัญญัติสาธารณสุขเรื่องเหตุรำคาญ
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800.00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000.00 บาท
- ค่าอาหารมื้อกลางวัน จำนวน 80 คน ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 6,000.00 บาท
- หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง (N95) จำนวน 1000 ชิ้น ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 60,000.00 บาท
- หน้ากากอนามัย 50 กล่อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000.00 บาท
รวมเป็นเงิน 74,800.00 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,091,700.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยได้รับการสอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคตามมาตรฐาน งานป้องกันและควบคุมโรค
    2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด สถานบริการสาธารณสุข ไม่มีภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย ( CI = 0 )
    3. ชุมชน มีจำนวนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำยุงลายได้ไม่เกินร้อยละ 10 ( HI ≤ 10 )
    4. ร้อยละ 85 ของผู้รับบริการป้องกันและควบคุมโรค มีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ดี – ดีมาก

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า  หน่วยงาน งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางพิมพร เทียนถาวร ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต