โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต



pic
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต รหัส กปท. ...L6983
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

---------------------------------------------------------------------------

   
           ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”
           อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
1.ชื่อโครงการ สร้างเสริมองค์ความรู้ด้านปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) การรักษาความปลอดภัยกรณีฉุกเฉิน และการเตรียมตัวเมื่อเกิดสาธารณภัย

2.ชื่อ หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน กองการศึกษา เทศบาลนครรังสิต

3.หลักการเหตุผล
     ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชุมชนต่าง ๆ รวมถึงสถานศึกษาในประเทศไทย ประสบปัญหาในการดูแลรักษาสุขภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่พบอยู่เสมอคือ ความรู้ความเข้าใจในการทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ ทำให้บ่อยครั้งเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สาเหตุที่สำคัญเนื่องจากสมาชิกในชุมชนต่าง ๆ/สถานศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และบางครั้งแม้แต่ตัวของเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเอง ก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน กองการศึกษา ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเล็งเห็นถึงความสำคัญของรักษาความปลอดภัยกรณีฉุกเฉินและเตรียมตัวเมื่อเกิดสาธารณภัย เพื่อจักได้รักษาไว้ซึ่งชีวิตของเด็ก เยาวชน และบุคลากรทางการศึกษา อันจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของทางราชการ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมองค์ความรู้ด้านปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) การรักษาความปลอดภัยกรณีฉุกเฉิน และการเตรียมตัวเมื่อเกิดสาธารณภัยแก่ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ขึ้น โดยจะเป็นการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง เกี่ยวกับการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติหรืออุบัติภัยหมู่ รวมทั้งการรักษา ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอในการดูแลชีวิตของตนเอง เด็กนักเรียน ตลอดจนประชาชนในชุมชนละแวกใกล้เคียงกับสถานศึกษา ให้ปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล

4.วัตถุประสงค์    
    4.1 เพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถของครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน และการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ หรืออุบัติภัยหมู่
    4.2 เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และยกระดับความปลอดภัยในในสถานศึกษา
    4.3 เพื่อเป็นการลดโอกาสในการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ หรืออุบัติภัยหมู่
    4.4 เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนัก รับรู้ และเข้าใจในบทบาทของตัวเอง ในการปฏิบัติงาน และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
    4.5 เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานศึกษา ท้องถิ่น หรือบ้านเรือนในละแวกใกล้เคียงสถานศึกษา

5. วิธีดำเนินการ
   ขั้นเตรียมการ
    - ประสานเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของเทศบาลนครรังสิต เพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการ ตลอดจนขอความอนุเคราะห์วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำงานจริง มาถ่ายทอดความรู้ ทักษะ แนวคิด พร้อมทั้งภาคปฏิบ
    - กองการศึกษาเขียนโครงการและเสนอโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
   ขั้นดำเนินการ
    - กำหนดวันฝึกอบรม พร้อมทั้งแจ้งกลุ่มเป้าหมาย
    - กองการศึกษาร่วมกับเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครรังสิต จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมตามโครงการฯ จำนวน 1 วัน ประกอบด้วยเนื้อหาภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
    - กองการศึกษาดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ
    - กองการศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยฝึกอบรม รวม 3 รุ่น ๆ ละ 50 คน อบรมรุ่นละ 1 วัน
   สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

6. กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม    
    6.4 กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 150  คน
    ครู บุคลากรทางการศึกษา สังกัดเทศบาลนครรังสิต และผู้ปกครองที่สนใจ
   กิจกรรม : 4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ ( ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 )
       7.1.4 หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
   ประเภทการสนับสนุน( ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 )
       7.2.2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น[ข้อ 10(2)]
   กลุ่มเป้าหมายหลัก
       7.3.4 กลุ่มวัยทำงาน
   กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก
       4. การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
   แผนสุขภาพ
      

7. ระยะเวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 1 เมษายน 2562 สิ้นสุด 10 พฤษภาคม 2562

8. สถานที่ดำเนินการ อาคารหอประชุม 100 ปี เมืองธัญญบูรี เทศบาลนครรังสิต

9. งบประมาณ
     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 39,321.00 บาท
รายละเอียด ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 วันๆละ 2 มื้อ รวม 2 มื้อ/รุ่น รุ่นที่ 1 ผู้เข้าอบรม 50 คน วิทยากร 10 คน รุ่นที่ 2 ผู้เข้าอบรม 50 คน วิทยากร 10 คน รุ่นที่ 3 ผู้เข้าอบรม 50 คน วิทยากร 10 คน เป็นเงิน 9,000.00 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 1 วันๆละ 1 มื้อ รวม 1 มื้อ/รุ่น รุ่นที่ 1 ผู้เข้าอบรม 50คน วิทยากร 10 คน รุ่นที่ 2 ผู้เข้าอบรม 50คน วิทยากร 10 คน รุ่นที่ 3 ผู้เข้าอบรม 50คน วิทยากร 10 คน เป็นเงิน 13,500.00 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารอบรม ได้แก่ ค่าเอกสารอบรม ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน และกระเป๋า/สิ่งที่ใช้บรรจุเอกสาร รุ่นที่ 1 จำนวน 50 ชุด รุ่นที่ 2 จำนวน 50 ชุด รุ่นที่ 3 จำนวน 50 ชุด ชุดละ 25 บาท รวม 150 ชุด เป็นเงิน 7,500.00 บาท
- ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ได้แก่ ค่าอุปกรณ์เคมีดับเพลิงขั้นต้น รุ่นละ 3000 บาท รวม 3 รุ่น เป็นเงิน 9,000.00 บาท
- ค่าจัดจ้างประชาสัมพันธ์/ทำสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1 x 1.2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % เป็นเงิน 321.00 บาท
รวมเป็นเงิน 39,321.00 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร ไม่มีค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นบุคลากรของเทศบาลนครรังสิต
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 39,321.00 บาท

10. ตัวชี้วัด / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม สามารถทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กู้ชีพขั้นพื้นฐาน และเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ หรืออุบัติภัยหมู่ (จากการทดสอบภาคปฏิบัติรายบุคคล/รายกลุ่ม)
    2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน และการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ หรืออุบัติภัยหมู่ (จากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม) (Pre - test/Post - test)

11. คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
    ข้าพเจ้า นางสาวนิชภาดา กันทาวงศ์ หน่วยงาน กองการศึกษา เทศบาลนครรังสิต
ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
   ✓ ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
   ✓ สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
   ✓ รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


นางศิริวรรณ ปักษี ( ประธานเสนอโครงการ )   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการศึกษา

 

© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต