![]() |
กท. ๑ | |
โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 |
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ |
ชื่อโครงการ รณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 2562 |
|||
ส่วนที่ 1 : รายละเอียด การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะพยาบาลและทีมสหวิชาชีพได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา และให้ความสำคัญต่อการปกป้องเด็กและสตรี มิให้กลายเป็นเหยื่อของอุตสาหกรรมบุหรี่ รวมทั้งปกป้องสิทธิการมีสุขภาพที่ดีของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของบุคคลอื่น หรือที่เรียกว่าผู้สูบบุหรี่มือสอง (secondary or passive smokers) จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11 – 18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19 – 25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25 – 35 ปี |
|||
1. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด/กลุ่มเป้าหมาย
1.1 วัตถุประสงค์ 1.1.1 เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายหันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบในที่สาธารณะ และร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ 1.1.2 เพิ่มพูนความรู้และทักษะ การเผยแพร่และแนะนำ การควบคุมการบริโภคยาสูบในที่สาธารณะ และการรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ ให้กลุ่มเป้าหมาย 1.1.3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาพิษภัยจากบุหรี่แนวทางใหม่ เพื่อลดความเดือดร้อนความเจ็บป่วยและให้ปลอดภัยจากปัญหาการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ 1.1.4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของวันต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ( 31 พ.ค ของทุกปี ) เพื่อร่วมป้องกันการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะให้หมดสิ้นไปอย่างยั้งยืน 1.1.5 เพื่อสร้างกระแส ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รู้ถึงพิษภัยของบุหี่ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากผู้สูบ 1.2 ตัวชี้วัด 1.2.1 ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ 1.2.2 ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเดินรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลก 1.3. กลุ่มเป้าหมาย 150 คน ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตลาดรัตนโกสินทร์ 200 ปี/ ตลาดรังสิต และตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วม 2. วิธีการดำเนินงาน 2.1 ขั้นเตรียมการ- จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ - ประชุมวางแผนงาน - ติดต่อสถานที่จัดงาน เพื่อขอพื้นใช้ที่จัดกิจกรรม - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ - จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดตบแต่งขบวนรณรงค์ - ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตลาดรัตนโกสินทร์ 200 ปี ตลาดรังสิต และตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม - ติดต่อวิทยากร 2.2 ขั้นดำเนินการ- กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ - กิจกรรมสันทนาการ - กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ แนะนำ อันตรายของการสูบบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ 2.3 สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม 3. ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 สิ้นสุด 6 กรกฎาคม 2562 4. สถานที่ดำเนินการ สำนักงานเทศบาลนครรังสิตและบริเวณเขตพื้นที่ตลาด 200 ปี ตลาดรังสิต 5. งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิตจำนวน 24,850.00 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าวิทยากร จำนวน 1 ท่าน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800.00 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 11,250.00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน150 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750.00 บาท - ค่าอุปกรณ์เช่นสมุด ปากกา แฟ้ม อื่นๆ เป็นต้น เป็นเงิน 5,000.00 บาท - ค่าป้ายไวนิลและวัสดุเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 3,050.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,850.00 บาท 6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มเป้าหมายที่สูบบุหรี่ ลด/ละ/เลิกสูบบุหรี่ 7. สรุปโครงการ (ผู้เสนอฯ ลงรายละเอียด โดยในแต่ละข้อย่อยให้เลือกเพียง 1 รายการที่เป็นรายการหลักสำหรับใช้ในการจำแนกประเภทเท่านั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ อปท. บันทึกข้อมูลลงโปรแกรมกองทุนฯ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว) 7.1 หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2557 ข้อ 7) ชื่อหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ชมรม จพสช.นครรังสิต 7.1.2 หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล 7.2 ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) 7.2.2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น[ข้อ 10(2)] 7.3 กลุ่มเป้าหมายหลัก (ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557) 7.3.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7.4 กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมายหลัก 7.4.7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7.4.7.4 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 8.ผู้รับผิดชอบ ( ชื่อกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน)ชมรม จพสช.นครรังสิต |
|||
นายชั้น รักสูงเนิน ( ผู้เสนอโครงการ ) ตำแหน่ง ประธานชมรมจิตอาสาพัฒนาสุขภาพชุมชน |
|||
|