ภาพกิจกรรม พัฒนาศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุ


ปัจจุบันประชากรไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลื่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 13.2 ใน พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 32.1 ใน พ.ศ. 2583 ในปี พ.ศ. 2560 จะเป็นปีที่สัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ สัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายจะเพิ่มจากประมาณร้อยละ 12.7 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรสูงอายุ เทศบาลนครรังสิตมีประชากรทั้งหมด 82,153 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 11,351 คน คิดเป็นร้อยละ 13.81 ของประชากร การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในประเทศ โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เน้นกระบวนการเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุก ๆ ด้าน วัยผู้สูงอายุเป็นอีกช่วงหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่ถือว่าเป็นช่วงรอยต่อของชีวิต ที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบกับบางคนมีโรคประจำตัว ทำให้สมรรถภาพของร่างกายเสื่อมถอยลง เทศบาลนครรังสิต มีชมรมผู้สูงอายุ 11 ชมรม จำนวนสมาชิก มากกว่า 5,000 คน จึงเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสำหรับสมาชิกกลุ่ม เพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีความเข้มแข็งในกลุ่มสมาชิก ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุนครรังสิต เห็นความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มศักยภาพของแกนนำผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพของตนและกลุ่มสมาชิก ทำให้สมาชิกมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต