ภาพกิจกรรม รู้...ทัน...ครรภ์เกินกำหนด ลด Birth Asphyxia


การตั้งครรภ์เกินกำหนด คือการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน42 สัปดาห์(294วัน)หรือมากกว่า40 สัปดาห์(280 )เมื่อนับจากวันตกไข่ พบได้ประมาณร้อยละ4-19ของการตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อทารก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนจากรกเสื่อมสภาพ หรือการสำลักขี้เทา(MAS) จากปัญหาขี้เทาปนในน้ำคร่ำหรือน้ำคร่ำน้อย ในรายที่รุนแรงทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ทารกบางรายคลอดแล้วมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาเช่นน้ำตาลในเลือดต่ำ ฯอาการชัก บางรายเกิดความพิการทางด้านร่างกายและสมอง ผลต่อมารดาเมื่อตั้งครรภ์เกินกำหนด อาจทำให้ทารกตัวโต (macrosomia) คลอดยาก ช่องทางคลอดฉีกขาด คลอดติดไหล่ มีการบาดเจ็บจากการคลอดทั้งมารดาและทารก บางรายทารกเสียชีวิตในครรภ์ มีผลกระทบต่อจิตใจของมารดา บิดาและญาติพี่น้อง ทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ต้องเลี้ยงดูบุตรที่พิการ เป็นภาระ ของครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ งานห้องคลอด โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ในปี 2560 พบทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 1 ราย และเสียชีวิตในระยะคลอด จากการทบทวนถึงกระบวนการการดูแลมารดาในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะคลอด พบสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดคือ การวินิจฉัยความเสี่ยงล่าช้า การเฝ้าระวังที่ไม่ครอบคลุมเนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม เฝ้าระวังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ซึ่งการดูแลรักษามารดาที่ตั้งครรภ์เกินกำหนดในช่วงขณะเจ็บครรภ์ และช่วงคลอดบุตรเป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ได้ให้บริการฝากครรภ์ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ฝากทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ ทำให้ผู้มารับบริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ใน ตำบลประชาธิปัตย์ ควรได้รับการดูแลในขณะตั้งครรภ์ให้ได้ตามมาตรฐาน และมีการติดตามสุขภาพทารกในครรภ์โดยการใช้เครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และการบีบรัดตัวของมดลูก (NST/EFM) ทุกราย ตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ จนถึงระยะคลอด ทำให้เครื่องไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อาจส่งผลเสียแก่ผู้รับบริการ งานห้องคลอดจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องการ และลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โดยขอสนับสนุนเครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และการบีบรัดตัวของมดลูก (NST/EFM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ให้บรรลุเป้าหมาย “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย”
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต