ภาพกิจกรรม พัฒนาศักยภาพการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชน


จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขได้แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องทางด้านพัฒนาการของเด็กไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดผลการสำรวจของกรมอนามัย พ.ศ.2553 พบว่าเด็กไทยอายุ 3-5 ปี มีพัฒนาการต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 30 ปี พ.ศ. 2554 กรมสุขภาพจิตสำรวจ IQ ของเด็กไทยอายุ 6-15 ปี ทั้งประเทศพบว่ามีค่าเฉลี่ยที่ 98.8 ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรเป็นคือ 100 สาเหตุของพัฒนาการล่าช้าไม่สมวัยของเด็กไทย มีสาเหตุจาก พันธุกรรม ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด ภาวะน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม ปัญหาการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่นให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ดูทีวี ขาดโอกาสการเรียนรู้เนื่องจากการเจ็บป่วย และสภาพครอบครัวที่แตกแยก จากการประเมินพัฒนาการเด็ก 4 ช่วงวัย ของเด็กในพื้นที่ในตำบลประชาธิปัตย์ในปี 2560 พบว่าเด็ก 4 ช่วงวัยดังกล่าว ได้รับการตรวจพัฒนาการน้อยกว่าร้อยละ 90 และมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าถึงร้อยละ 30 ช่วงวัย 9 เดือนพบว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่สมวัย ช่วงอายุ 18,30และ42 เดือน มีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การเข้าใจภาษาและการใช้ภาษาไม่สมวัย ในการติดตามประเมินซ้ำในรายที่สงสัยมีพัฒนาการล่าช้า มีเพียงร้อยละ 50 ได้รับการประเมินซ้ำ เนื่องจากปัญหาการเดินทางและผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของการติดตาม ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพ(คลินิกเด็กดี)โรงพยาบาลประชาธิปัตย์จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชน ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและจิตอาสามีความรู้และทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ สามารถให้คำแนะนำและสังเกตความผิดปกติเบื้องต้นได้ รวมทั้งสามารถติดตามดูแลเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยให้ได้รับการดูแลต่อในชุมชนได้
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต