รายการกิจกรรม

การให้บริการวัคซีน โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนโควิด 19
ติดตามผลการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นและกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จังหวัดปทุมธานี
นายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม ประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต ร่วมประเมินติดตามผลการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นและการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) โดยคณะการติดตามประเมินผล ระดับอำเภอและจังหวัด
SEPSIS โรคติดเชื้อในกระแสเลือด

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis หรือ Septicemia) คือการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย โดยผู้ป่วยมักเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน จากนั้นแบคทีเรียจึงแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด และก่อให้เกิดความผิดปกติแก่ร่างกาย เช่น มีการอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตัน อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก และมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น

อาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อาการเริ่มแรกที่จะปรากฏอย่างรวดเร็วหลังการติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ มีไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น มือและเท้าเย็น หายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน หากไม่รีบไปพบแพทย์ อาการจะรุนแรงขึ้น โดยจะเริ่มมีจุดเลือดออกแดงๆ หรือรอยฟกช้ำขึ้นที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกมึนงง สับสน และค่อยๆ รู้สึกตัวน้อยลง จนถึงขั้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้

สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นต้นเหตุ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียก่อโรคเข้าสู่ร่างกายและแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ได้แก่ มีการติดเชื้อที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา แบคทีเรียอาจเพิ่มจำนวนและลุกลามไปทั่วร่างกายผ่านทางกระแสเลือดได้ ตัวอย่างโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในช่องท้อง เช่น ไส้ติ่งอักเสบ มีภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดซึ่งทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ติดเชื้อจากการรักษาในโรงพยาบาล กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลบางครั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นการติดเชื้อได้ เช่น การผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล ซึ่งมักเป็นเชื้อดื้อยาที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยยาปฏิชีวนะธรรมดา และอาจลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ติดเชื้อจากการใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะ การใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือการสอดท่อทางหลอดเลือดดำ ซึ่งหากอุปกรณ์ดังกล่าวมีการปนเปื้อนเชื้อโรค ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลขนาดใหญ่ เช่น มีแผลเปิดจากอุบัติเหตุ หรือเป็นแผลทั่วตัวจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ซึ่งดูแลทำความสะอาดแผลลำบาก ทำให้อาจเกิดการติดเชื้อผ่านผิวหนังได้ เด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากเด็กและผู้สูงอายุจะมีร่างกายอ่อนแอ และหากยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดได้สูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ ลิ่มเลือดแข็งตัวทั่วร่างกาย หรือ Disseminated Intravascular Coagulation (DIC) โดยลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นจะไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง และเกิดเนื้อเยื่อตายเฉียบพลันได้ การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้อวัยวะสำคัญในร่างกายล้มเหลว เช่นไต ปอด หัวใจ และสมอง เป็นต้น การหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS) เนื่องจากปอดได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้

การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การใช้ยาปฏิชีวนะจึงเป็นการรักษาหลัก โดยแพทย์มักให้ยาด้วยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ชนิดของยาที่ใช้จะต่างกันไปตามชนิดของเชื้อก่อโรค และลักษณะการดื้อยาของเชื้อ ซึ่งระยะเวลาการให้ยาจะอยู่ที่ 1–2 สัปดาห์ การให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจะมีอาการชีพจรเต้นเร็วและความดันโลหิตต่ำ แพทย์จึงต้องให้ยาเพิ่มความดันซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงด้วย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือการให้น้ำเกลือ เป็นการป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ เพื่อไม่ให้หัวใจและไตล้มเหลว รวมถึงเป็นการรักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติด้วย การใช้เครื่องช่วยหายใจ จะใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติและมีปัญหาในการหายใจ โดยแพทย์จะใส่หน้ากากช่วยหายใจเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น การผ่าตัด อาจต้องทำในกรณีที่เกิดแผลติดเชื้อภายในร่างกาย และเกิดการลุกลามจนทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น เช่น การมีฝีในปอด หรือมีไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

เบื้องต้นคุณควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ โดยการรักษาสุขอนามัยให้ดี และไม่สัมผัสกับแหล่งที่มีเชื้อก่อโรค รวมทั้งดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานให้ดีขึ้น โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ก่อนที่เชื้อจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด
STROKE โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

(1) ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic Stroke) มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนา นูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้หลอดเลือดค่อย ๆ ตีบแคบ พบได้ประมาณ 70–85%

(2) ภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บและทำให้เนื้อสมองตาย มักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเปราะและโป่งพอง พบได้ประมาณ 15–30%

(3) ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack) คล้ายโรคสมองขาดเลือด แต่มีอาการชั่วคราวไม่เกิน 24 ชั่วโมง เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องพบแพทย์เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต พบได้ประมาณ 15% อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกาย และคอยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอยู่เสมอ

STEMI โรคหัวใจขาดเลือด
อาการหัวใจขาดเลือด มีลักษณะปวดเค้นกลางหน้าอก เจ็บนานหลายนาที อาจร้าวไปที่แขน ไหล่ซ้าย ข้อศอก ขากรรไกร หรือไปที่ด้านหลังก็ได้ อาการอื่นที่ร่วมด้วย ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หมดสติ เหงื่อออกมาก ซีด ในผู้หญิงมักมีการแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง ปวดบริเวณขากรรไกร หรืออาการปวดเจ็บหน้าอกที่ไม่เฉพาะเจาะจงเหมือนผู้ชาย
ถอดบทเรียน แนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานกองทุน 2 เม.ย. 62
วันที่ 2 เมษายน 62 นายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรี นครรังสิต ร่วม ถอดบทเรียน แนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานกองทุน ในการประชุมเชิงปฏิบัติ (Workshop) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่น ณ ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 อาคารจอดรถเทศบาลนครรังสิต
ถอดบทเรียน แนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานกองทุน 1 เม.ย. 62
วันที่ 1 เมษายน 62 นายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรี นครรังสิต ร่วม ถอดบทเรียน แนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานกองทุน ในการประชุมเชิงปฏิบัติ (Workshop) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่น ณ ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 อาคารจอดรถเทศบาลนครรังสิต
โครงการลดหวาน มัน เค็ม ลดเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
วันที่ 19 เมษายน 2561 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 อาคารจอดรถ เทศบาลนครรังสิต
โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ปี 2561
. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด/กลุ่มเป้าหมาย 1.1 วัตถุประสงค์ 1.1.1 เพื่อจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 4 1.1.2 เพื่อให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ มีความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 1.1.3 เพื่อใช้เป็นแนวทางสนับสนุนหรือส่งเสริมค่าใช้จ่ายตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ในการพัฒนา ด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 1.2 ตัวชี้วัด 1.2.1 ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 1.2.2 ร้อยละ 90 ของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 4 ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานได้ 1.2.3 ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในโครงการ ระดับ ดี-ดีมาก 1.3. กลุ่มเป้าหมาย 56 คน คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
โครงการโรคเรื้อรัง
กิจกรรมตรวจรักษาโรค โดย ทีมสหวิชาชีพ ร.พ ประชาธิปัตย่ และพยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ศูนย่บริการสาธารณสุข 2 ตามโครงการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
โครงการยุทธการทลายพุง กิจกรรมอบรมให้ความรู้
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ณ ห้องหงส์มังกร ชั้น 12 เทศบาลนครรังสิต
ประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2559
29 ต.ค. 58 ณ ห้องประชุมสัตตบุษย์ ชั้น 4 เทศบาลนครรังสิต
โครงการเตรียมกายใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า
ณ อาคาร 100 ปี เมืองธัญบุรี วันที่ 25 ธ.ค. 2557
โครงการพัฒนาทักษะชีวิตสู่โรงเรียนสีขาว
นายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม ประธานกองทุนฯ กล่าวเปิดการอบรม โครงการ พัฒนาทักษะชีวิตสู่โรงเรียนสีขาว ในกิจกรรม Happiness youth camp (Tobe Number One) ร.ร.วัดแสงสรรค์
โครงการส่งเสริมสุขภาพชมรมผู้สูงอายุหมู่ 5
วันที่ 20 มีนาคม 2557 ณ ชมรมผู้สูงอายุหมู่ 5
พัฒนาทักษะชีวิตสู่โรงเรียนสีขาว
ToBeNumber One โรงเรียนวัดแสงสรรค์ ตอน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ วันที่ 13 ก.พ. 57 ณ โรงเรียนวัดแสงสรรค์
กำหนดการประชุมกองทุนฯ ครั้งที่ 2/ 2557
คณะทำงานด้านบริหารจัดการกองทุน (ชุดที่ 1)

วันที่ 27 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมบุญฑริก ชั้น 7

และ

คณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนฯ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องประชุมจงกลนี ชั้น 11

ประชุมเครือข่าย อสม. ครั้งที่ 1/2557
12 พ.ย. 56 ณ ห้องประชุมจงกลนี ชั้น 11 เทศบาลนครรังสิต
ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต
ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปี 2556 โดยคณะทำงานพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอำเภอธัญบุรี 18 ก.ย. 56
โครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ รุ่น 2
ณ ห้องประชุมจงกลนี ชั้น 11 เทศบาลนครรังสิต วันที่ 3 ก.ย. 56

หัวข้อบรรยาย

- สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ โดย น.ส.รัตนา แย้มศรี พยาบาลวิชาชีพ 8 วช.

- การดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุ และครอบครัว

และ การปลูกจิตสำนึกให้เกิดความร่วมมือด้านจิตอาสา และจริยธรรมสำหรับ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

โดย ดร.ขนิษฐา บูรณพันศักดิ์ หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

- การบริหารกาย บริหารจิต โดย คุณประสิทธิ์ ศรีมาลีจ้อย

- การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนอันตรายโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ และการสังเกตสัญญาณชีพ โดย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

- การดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยติดเตียง

วันที่ 4 กันยายน 56

- การให้การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล เช่น การอาบน้ำเช็คตัวบนเตียง การดูแลความสะอาดในช่องปาก และการดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

- การดูแลโภชนาการ การบริหารยา ดูแลพักผ่อนนอนหลับ และการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องผู้ป่วย โดย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

- การบริหารกาย บริหารจิต โดย คุณประสิทธิ์ ศรีมาลีจ้อย

- การจัดท่าผู้ป่วยบนเตียง การบริหารข้อต่อ การฝึกการเคลื่อนไหวบนเตียงและการฝึกนั่ง การฝึกยืนและการฝึกเดิน การฝึกการเคลื่อนย้ายตัว โดย นางสาวสุภาวดี ปินตาเทพ นักกายภาพบำบัด รพ.ประชาธิปัตย์

อบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้สุขภาวะ1
วันที่ 20 ส.ค. 56 กลุ่มเป้าหมาย อสม. เทศบาลนครรังสิต วัตถุประสงค์ ๑ เพื่อให้ อสม. ได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องของการลดการใช้และลดการทิ้งขยะ ๒ เพื่อให้ อสม. ได้เรียนรู้กิจกรรมที่อนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขอต้อนรับคณะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี
ขอต้อนรับคณะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี ลงพื้นที่เยี่ยมติดตามผลการบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต วันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมจงกลนี ชั้น 11 เทศบาลนครรังสิต กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ. ปทุมธานี
อบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่ อสม. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก 17 ก.ค. 56 เวลา 08.30 - 16.30 น. ห้องประชุมหงส์มังกร อาคารจอดรถชั้น 12 เทศบาลนครรังสิต กลุ่มเป้าหมาย อสม. 300 คน อสม.ท่านใดต้องการร่วมโครงการ ติดต่อได้ที่ คุณสุภรัตน์ หัวหน้างานป้องกันและควบคุมโรค เทศบาลนครรังสิต โทร. 02-567-1487 นะคะ..... ไว้เจอกันนะจ๊ะ
ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนฯ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2556
ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต ครั้งที่ 1/2556
ศูนย์การเรียนรู้การปฏิบัติตัวผู้สูงวัย
กิจกรรมนันทนาการ ออกกำลังกายฟิตเนส ทางเดินนวดฝ่าเท้า
© กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต